เมนู

"ตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว ผู้มีอายุ."
"ก็แล้วทำไม ท่านจึงไม่ร้องเรียกพวกผม พวกผมจะได้มาถอน
หนามออก แล้วเอาน้ำมันร้อนๆ หยอด (แผล) ให้ ?"
"หนามแทงคาอยู่ ผมพยายามถอนแล้วคุณ"
"ท่านถอนออกแล้ว หรือยังขอรับ ?"
"คุณ ผมถอนออกได้เพียงบางส่วน"
เรื่องที่เหลือ ได้อธิบายไว้อย่างพิสดารแล้ว ในนิเทศแห่ง
สติปัฏฐานสูตร ในอรฺรถกถาทีฆนิกาย และมัชฌิมนิกาย นั่นแล.

ลักษณะของอนิจจัง


ถามว่า

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มว่า ตํ กึ มญฺญถ
ภิกฺขเว
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?)
ตอบว่า เมื่อก่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะลักษณะของ
ทุกข์ไว้ หาได้ตรัสลักษณะของอนิจจังไว้ไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเริ่มคำว่า ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว นี้ไว้ ก็เพื่อแสดงถึงลักษณะของ
อนิจจังนั้น อนึ่ง เพื่อจะทรงประมวลลักษณะทั้ง 3 (อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา) มาแสดงไว้ (พร้อมกัน) จึงทรงเริ่มคำนี้ไว้.
บทว่า อปจินาติ โน อาจินาติ ความว่า ทำวัฏฏะให้พินาศ
ไม่สั่งสมวัฏฏะไว้. บทว่า ปชหติ น อุปาทิยติ ความว่า ย่อมปล่อย
วัฏฏะนั้นนั่นแล คือไม่ยืดถือไว้. บทว่า วิสิเนติ น อุสฺสิเนติ ความว่า
ย่อมคลาย (วัฏฏะ) ไม่รวบรวมไว้. บทว่า วิธูเปติ น สนฺธูเปติ ความว่า
ย่อมทำวัฏฏะให้ดับ ไม่ให้ลุกโพลง.