เมนู

เป็นต้นจับกิน ก็ทำเวทนานั้นให้เป็นอัพโพหาริก (ไม่ให้เวทนาปรากฏ)
พิจารณามูลกัมมัฏฐานย่อมยึดพระอรหัตต์ไว้ได้ทีเดียว พระโยคาวจรนี้
เรียกว่า ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา
เหมือนพระมิคิมัลลเถระ เหมือนพระมหาติสสเถระบุตรของกุฎุมพี
เหมือนพระรูปหนึ่งในจำนวนพระประมาณ 30 รูป (จำพรรษาอยู่ใน
ดงวัตตนี) ที่ (ถูกเสือโคร่งกัด) นอน (พิจารณากัมมัฏฐานอยู่) ใน
ปากเสือโคร่ง และเปรียบเหมือนพระเถระรูปที่ถูกหนามแทง ฉะนั้น.

พระถูกหนามแทงพิจารณากัมมัฏฐาน


เล่ากันว่า เมื่อพระ 12 รูป เคาะระฆังแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่า
พระรูปหนึ่ง พอเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตเท่านั้นก็เคาะระฆังลงสู่ที่
จงกรม (ท่าน) จงกรมไปพลางเร่งความเพียรไปพลาง (พลาด) ไป
เหยียบหนามที่หญ้ากลบไว้. หนามทะลุออกหลังเท้า เวทนาเป็นไป
เหมือนเวลาถูกกระเบื้องคมบาดฉะนั้น. พระเถระคิดว่า เราจะถอน
หนามนี้ออก หรือจะปล่อยหนามให้แทงคาอยู่อย่างเดิม. ท่านได้มี
ความคิดดังนี้ว่า ชื่อว่าการไปในทุคคติมีนรกเป็นต้น (การตกนรก)
เพราะถูกหนามนี้แทง ไม่มีดอก (เราจะปล่อยให้) หนามแทงอยู่
อย่างเดิม. ท่านทำเวทนานั้นให้เป็นอัพโพหาริก (ไม่ให้เวทนาปรากฏ)
แล้วเดินจงกรมตลอดทั้งคืน เมื่อราตรีสว่าง ได้ส่งสัญญาณให้แก่พระ
อีกรูปหนึ่ง พระรูปนั้นจึงมา (หาท่าน) แล้วถามว่า "เป็นอะไรไป
ขอรับ ?"
"ผมถูกหนามแทง ผู้มีอายุ".
"เมื่อไร ขอรับ ? "

"ตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว ผู้มีอายุ."
"ก็แล้วทำไม ท่านจึงไม่ร้องเรียกพวกผม พวกผมจะได้มาถอน
หนามออก แล้วเอาน้ำมันร้อนๆ หยอด (แผล) ให้ ?"
"หนามแทงคาอยู่ ผมพยายามถอนแล้วคุณ"
"ท่านถอนออกแล้ว หรือยังขอรับ ?"
"คุณ ผมถอนออกได้เพียงบางส่วน"
เรื่องที่เหลือ ได้อธิบายไว้อย่างพิสดารแล้ว ในนิเทศแห่ง
สติปัฏฐานสูตร ในอรฺรถกถาทีฆนิกาย และมัชฌิมนิกาย นั่นแล.

ลักษณะของอนิจจัง


ถามว่า

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มว่า ตํ กึ มญฺญถ
ภิกฺขเว
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?)
ตอบว่า เมื่อก่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะลักษณะของ
ทุกข์ไว้ หาได้ตรัสลักษณะของอนิจจังไว้ไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเริ่มคำว่า ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว นี้ไว้ ก็เพื่อแสดงถึงลักษณะของ
อนิจจังนั้น อนึ่ง เพื่อจะทรงประมวลลักษณะทั้ง 3 (อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา) มาแสดงไว้ (พร้อมกัน) จึงทรงเริ่มคำนี้ไว้.
บทว่า อปจินาติ โน อาจินาติ ความว่า ทำวัฏฏะให้พินาศ
ไม่สั่งสมวัฏฏะไว้. บทว่า ปชหติ น อุปาทิยติ ความว่า ย่อมปล่อย
วัฏฏะนั้นนั่นแล คือไม่ยืดถือไว้. บทว่า วิสิเนติ น อุสฺสิเนติ ความว่า
ย่อมคลาย (วัฏฏะ) ไม่รวบรวมไว้. บทว่า วิธูเปติ น สนฺธูเปติ ความว่า
ย่อมทำวัฏฏะให้ดับ ไม่ให้ลุกโพลง.