เมนู

เปรียบเทียบ


เปรียบเหมือน เมื่อเหรัญญิกนำกหาปณะมาทำเป็นกองไว้บน
แผ่นกระดานของเหรัญญิก เมื่อคน 3 คน คือ เด็กไร้เตียงสา ชาวบ้าน
ธรรมดา (และ) เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญ ยืนมองดู เด็กไร้เดียงสา รู้แต่
เพียงว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงาม วิจิตร (มีลักษณะ) สี่เหลี่ยม และ
กลมเป็นต้น (แต่) หารู้ไม่ว่า นี้เป็นรตนสมมติ ที่ใช้เป็นเครื่องอุปโภค
บริโภค ของมนุษย์ทั้งหลาย.
ชาวบ้านธรรมดา รู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงามเป็นต้น
เป็นรตนสมมติ ที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย
และรู้ว่า เป็นรตนสมมติ ที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์
ทั้งหลาย. แต่หารู้ไม่ว่า นี้เป็นของปลอม นี้เป็นของแท้ นี้เนื้อไม่ดี
นี้เนื้อดี.
เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญ ย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงาม
เป็นต้น ย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายเรียกว่า รัตนะ ทั้งย่อมรู้ว่า
เป็นของปลอมเป็นต้นด้วย
ก็แลเมื่อรู้ พอได้เห็นรูปบ้าง ได้ยินเสียง (เคาะ) บ้าง ได้ดมกลิ่น
บ้าง ได้ลิ้มรสบ้าง ใช้มือชั่งดูถึงความหนักเบาบ้าง ก็ทราบได้ (ทันที)
ว่า ทำที่หมู่บ้านโน้นบ้าง ทราบว่า ทำที่นิคมโน้น ที่เมืองโน้น ที่ร่มเงา
ภูเขาโน้น (และ) ที่ริมฝั่งแม่น้ำโน้นบ้าง ทราบว่า อาจารย์โน้นทำบ้าง
ฉันใด (สัญญา วิญญาณ และปัญญา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) สัญญา
ย่อมจำได้หมายรู้แต่เพียงอารมณ์ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น เปรียบ
เหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาเห็นกหาปณะฉะนั้น.

วิญญาณ ย่อมรู้อารมณ์ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้น ทั้งให้ถึงการแทง
ตลอดลักษณะว่าไม่เที่ยงเป็นต้น เปรียบเหมือนชาวบ้านธรรมดาเห็น
กหาปณะฉะนั้น.
(ส่วน) ปัญญา ย่อมรู้อารมณ์ว่า เป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ให้ถึง
การแทงตลอดลักษณะว่าไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย ทั้งสามารถให้ก้าวไปถึง
ความปรากฏแห่งมรรคด้วย เปรียบเหมือนเหรัญญิกผู้ชำนาญเห็น
กหาปณะฉะนั้น.
ก็ความแตกต่างกัน (ดังกล่าวมา) นั้นของ สัญญา วิญญาณ และ
ปัญญา เหล่านั้น แทงตลอด (เข้าใจ) ได้ยาก เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระนาคเสนจึงถวายพระพร (พระยามิลินท์) ว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก.
พระยามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อะไรคือ
สิ่งที่ทำได้ยาก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำไว้แล้ว ?
ท่านพระนาคเสนถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร
สิ่งทำได้ยากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำไว้คือ ตรัสบอกถึงการ
กำหนดอรูปธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกที่เป็นไปในอารมณ์
เดียวกันว่า นี้คือ ผัสสะ นี้คือ เวทนา นี้คือ สัญญา นี้คือ เจตนา นี้คือ จิต.
เปรียบเหมือน น้ำมัน 5 ชนิดนี้คือ น้ำมันงา น้ำมันผักกาด
น้ำมันมะซาง น้ำมันละหุ่ง น้ำมันเปลว ที่ใส่รวมกันไว้ในถาดเดียวกัน
การที่จะตักน้ำมันแต่ละชนิดแยกออกจากถาดใบเดียวกันนั้นทีละอย่าง
(แล้วบอก) ว่า นี้น้ำมันงานะ นี้น้ำมันผักกาดนะ นับว่าทำได้ยาก
(อยู่แล้ว) การกำหนดอรูปธรรมคือจิตและเจตสิก ที่เป็นไปในอารมณ์
เดียวกัน (ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้) นี้ทำได้ยากกว่านั้น.

แต่เพราะทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณมาดีแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมิสสรธรรมราช จึงทรง (สามารถ) ทำการ
กำหนดอรูปธรรมเหล่านี้ที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันได้.
แม้ด้วยการตักน้ำตรงที่ที่แม่น้ำใหญ่ 5 สาย ไหลเข้าสู่ทะเลแล้ว
แยกออก (บอก) อย่างนี้ว่า นี้เป็นน้ำจากแม่น้ำคงคา นี้เป็นน้ำจาก
แม่น้ำยุมนา ก็พึงทราบความหมาย (ดังว่ามา) นี้.

ลักษณะของทุกข์


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงลักษณะของอนัตตาด้วย
หัวข้อ 2 หัวข้อ คือ หัวข้อที่หนึ่งตรัสถึงสุญญตา หัวข้อที่สอง
ตรัสถึงลักษณะของสุญญตา อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงถึง
ลักษณะของทุกข์ จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขชฺชามิ ความว่า รูปหาได้แทะเนื้อ
คนเรากินเหมือนสุนัขไม่ แต่พึงทราบว่า เปรียบเหมือนคนนุ่งผ้าเนื้อหยาบ .
พูดว่า ผ้ากัด (เนื้อ) เรา ดังนี้ ก็โดยมุ่งหมายเอาการเสียดสีที่เกิดจาก
การนุ่งผ้าเนื้อหยาบนั้นฉันใด แม้รูปนี้ก็ฉันนั้น (คือ) ให้เกิดการบีบคั้น
ขึ้นจึงชื่อว่า กิน.
บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่
(รักษา) ศีล (ให้บริสุทธิ์) จนกระทั่งถึง (บรรลุ) อรหัตตมรรค.
ก็ในบทนี้พึงทราบอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า พระโยคาวจร
รูปใด มีญาณเป็นกำลัง ยอดเยี่ยมด้วยพุทธญาณอันแก่กล้า บำเพ็ญ
เพียรอยู่ในภูมิธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญเพียร ถูกตอไม้ตำ
หรือหนามเกี่ยว ถูกอาวุธประหาร หรือถูกสัตว์ร้ายทั้งหลายมีเสือโคร่ง