เมนู

สัญญานี้ควรเป็นทั้งบริกัมมสัญญา ทั้งอุปจารสัญญา ทั้งอัปปนาสัญญา,
แม้สัญญาที่เกิดว่า "สีเขียว สีเขียว" ก็ควรเหมือนกัน. แม้ในสิ่งทั้งหลาย
มีสีเหลืองเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้เหมือนกัน
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตตลักษณะ
ของสัญญา ซึ่งมีการจำได้หมายรู้เป็นลักษณะ.

สังขาร


บทว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ความว่า แม่ครัว
หุงต้มยายคู ก็เพื่อให้เป็นยาคู ปรุงขนมก็เพื่อให้เป็นขนมนั่นเอง ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ปรุงแต่ง คือประมวลมา ได้แก่รวบรวมไว้.
อธิบายว่า ให้สำเร็จซึ่งรูปนั้นเอง ที่ได้นามว่าสังขตะ เพราะปัจจัย
ทั้งหลายมาประชุมกันปรุงแต่ง เพื่อความเป็นรูป คือเพื่อความเป็นรูป
นั้น โดยประการที่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง จะชื่อว่าเป็นรูปได้. แม้ในเวทนา
ทั้งหลาย ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ก็ในตอนที่ว่าด้วย
สังขารนี้ มีความย่อดังนี้ :-
สังขารทั้งหลาย ย่อมปรุงแต่ง คือ ยังรูปที่เกิดพร้อมกับตน
หรือธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ที่สัมปยุตกันให้บังเกิด แม้ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตตลักษณะของ
สังขารซึ่งมีความตั้งใจเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณ


บทว่า อมฺพิลมฺปิ วิชานาติ ความว่า ย่อมรู้รสเปรี้ยวของ
ผลมะม่วง ผลมะกอก และผลมะนาว เป็นต้น ว่าเป็นรสเปรี้ยว.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้. อีกประการหนึ่ง ในบทเหล่านี้ พึงทราบ
วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ติตฺตกํ ได้แก่ รสขมนานัปการ มีรสขมของสะเดา และ
กระดอม เป็นต้น.
บทว่า กฏกํ ได้แก่ รสเผ็ดนานัปการ มีรสเผ็ดของดีปลีและ
พริก เป็นต้น
บทว่า มธุรํ ได้แก่ รสหวานนานัปการ มีรสหวานของเนยใส
และน้ำอ้อย เป็นต้น.
บทว่า ขาริกํ ได้แก่ รสเฝื่อนนานัปการ มีรสเฝื่อนของมะเขือ,
ของตาล. ของการะเกด, ของหน่อไม้, ของมะพร้าว, ของปอ,
และของหน่อหวาย เป็นต้น.
บทว่า อขาริกํ ได้แก่ ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง (และ) ใบไม้ที่มี
รสระคนกัน มีใบหมากเม่า เป็นต้น
บทว่า โลณิกํ ได้แก่ รสเค็มประการต่าง ๆ มีรสเค็มของยาคู
ใส่เกลือ ปลาใส่เกลือ และข้าวสวยใส่เกลือ เป็นต้น.
บทว่า อโลณิกํ ได้แก่ รสจืดประการต่าง ๆ มีรสข้าวยาคูไม่ใส่
เกลือ ปลาไม่ใส่เกลือ และข้าวสวยไม่ใส่เกลือเป็นต้น.
บทว่า ตสฺมา วิญฺญาณนฺติ วุจฺจติ ความว่า เพราะเหตุที่
วิญญาณรู้จักรส แยกประเภทเป็นรสเปรี้ยวเป็นต้นนี้ โดยแตกต่างกัน
ออกไป คือ โดยความเป็นของเปรี้ยวเป็นต้น. ฉะนั้นจึงเรียกว่าวิญญาณ.
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตต-
ลักษณะของวิญญาณซึ่งมีการรู้แจ้ง (อารมณ์) เป็นลักษณะด้วย

ประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สัญญา วิญญาณ ปัญญา


ก็เพราะเหตุที่สัญญาปรากฏ โดยกำหนดถึงอาการและสัณฐาน
ของอารมณ์ ฉะนั้น สัญญานั้น จึงทรงจำแนกไว้ในจักษุทวาร. (แต่)
เพราะเหตุที่วิญญาณปรากฏโดยกำหนดความแตกต่างเฉพาะอย่างของ
อารมณ์ เว้น (การกำหนด) อาการและสัณฐาน ฉะนั้น วิญญาณนั้นจึง
ทรงจำแนกไว้ในชิวหาทวาร.
อนึ่ง เพื่อกำหนดถึงสภาวะของสัญญาและวิญญาณเหล่านี้โดย
ไม่งมงาย จึงควรทราบถึงความแปลกกันในบทเหล่านี้ว่า สญฺชานาติ
(จำได้) วิชานาติ (รู้แจ้ง) ปชานาติ (รู้ชัด).
ในบททั้ง 3 นั้น เพียงแต่อุปสรรค (สํ, วิ, ป) เท่านั้นที่แปลกกัน
ส่วนบทว่า ชานาติ ไม่แปลกกันเลย. อนึ่ง เพราะบทว่า ชานาติ นั้น
มีความหมายว่า รู้ จึงควรทราบความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-
อธิบายว่า สัญญาเป็นเพียงการจำได้หมายรู้อารมณ์โดยเป็น
สีเขียวเป็นต้นเท่านั้น (แต่) ไม่สามารถให้ถึงการแทงตลอด (สามัญญ)
ลักษณะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้.
วิญญาณ ย่อมรู้อารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้น และให้ถึงการแทง
ตลอด (สามัญญ) ลักษณะมีไม่เที่ยงเป็นต้น แต่ไม่สามารถให้ก้าวไปถึง
มรรคปรากฏ (รู้แจ้งมรรค) ได้.
ปัญญา ย่อมรู้แจ้งอารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ย่อมให้
ถึงการแทงตลอด (สามัญญ) ลักษณะ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย
ทั้งให้ก้าวไปถึงความปรากฏแห่งมรรค (รู้แจ้งมรรค) ด้วย.