เมนู

เวทนา


คำเป็นต้นว่า กิญฺจ ภิกฺขเว เวทนํ วเทถ เป็นเหมือนกับคำที่
กล่าวมาก่อน จึงควรทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นและ ส่วนคำใดที่
ไม่เหมือนกับคำที่กล่าวมาก่อน คำนั้นมีการขยายความให้แจ่มแจ้ง
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุขํปิ เวทยติ ความ ย่อมรู้ คือ เสวยอารมณ์ที่
เป็นสุข. แม้ในสองบทต่อมาก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้.
ถามว่า ก็อารมณ์นี้ ชื่อว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
ได้อย่างไร?

ตอบว่า เป็นได้เพราะเป็นปัจจัยแห่งสุขเป็นต้น เนื้อความนี้นั้น
มาแล้วแลในมหาลิสูตรนี้ว่า ดูก่อนมหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความสุข เป็นเหตุให้ก้าวลงสู่ความสุข.
ในบทว่า เวทยติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :
เวทนานั่นเองเสวยสุข ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลอื่น เพราะว่า เวทนา
มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น เวทนาเสวยได้ก็เพราะ
อาศัยวัตถุกับอารมณ์ รวมความว่า ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงจำแนกปัจจัตตลักษณะเท่านั้น แม้ของเวทนา ด้วยประการดัง
พรรณนามาฉะนี้.

สัญญา


บทว่า นีลํปิ สญฺชานาติ ความว่า จำได้หมายรู้โดยทำบริกรรม
ในดอกไม้สีเขียวหรือในผ้า จนถึงขั้นอุปจาร หรืออัปปนา. ก็ชื่อว่า

สัญญานี้ควรเป็นทั้งบริกัมมสัญญา ทั้งอุปจารสัญญา ทั้งอัปปนาสัญญา,
แม้สัญญาที่เกิดว่า "สีเขียว สีเขียว" ก็ควรเหมือนกัน. แม้ในสิ่งทั้งหลาย
มีสีเหลืองเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้เหมือนกัน
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตตลักษณะ
ของสัญญา ซึ่งมีการจำได้หมายรู้เป็นลักษณะ.

สังขาร


บทว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ความว่า แม่ครัว
หุงต้มยายคู ก็เพื่อให้เป็นยาคู ปรุงขนมก็เพื่อให้เป็นขนมนั่นเอง ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ปรุงแต่ง คือประมวลมา ได้แก่รวบรวมไว้.
อธิบายว่า ให้สำเร็จซึ่งรูปนั้นเอง ที่ได้นามว่าสังขตะ เพราะปัจจัย
ทั้งหลายมาประชุมกันปรุงแต่ง เพื่อความเป็นรูป คือเพื่อความเป็นรูป
นั้น โดยประการที่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง จะชื่อว่าเป็นรูปได้. แม้ในเวทนา
ทั้งหลาย ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ก็ในตอนที่ว่าด้วย
สังขารนี้ มีความย่อดังนี้ :-
สังขารทั้งหลาย ย่อมปรุงแต่ง คือ ยังรูปที่เกิดพร้อมกับตน
หรือธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ที่สัมปยุตกันให้บังเกิด แม้ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตตลักษณะของ
สังขารซึ่งมีความตั้งใจเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณ


บทว่า อมฺพิลมฺปิ วิชานาติ ความว่า ย่อมรู้รสเปรี้ยวของ
ผลมะม่วง ผลมะกอก และผลมะนาว เป็นต้น ว่าเป็นรสเปรี้ยว.