เมนู

อรรถกถาขัชชนิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในขัชชนิยสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ความว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสหมายเอาการระลึกถึงด้วยอำนาจอภิญญา
ก็หาไม่ แต่ตรัสหมายเอาสมณพราหมณ์ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในภพก่อนด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า สมณะหรือพราหมณ์
ย่อมระลึกถึงขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 5 เหล่านั้นทั้งหมด หรือ
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง บรรดาขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 5 เหล่านั้น.
อธิบายว่า ขันธ์ก็ดี อุปาทานขันธ์ก็ดี สิ่งที่เนื่องด้วยขันธ์ก็ดี
บัญญัติก็ดี จัดเป็นอารมณ์แห่งการระลึกถึงด้วยอำนาจอภิญญาทั้งนั้น.
บทว่า รูปญฺเญว อนุสฺสรติ ความว่า ภิกษุผู้ระลึกถึงอยู่อย่างนี้
ไม่ใช่ระลึกถึงสัตว์หรือบุคคลอะไร ๆ อื่น แต่ว่า เธอได้ระลึกถึงเฉพาะ
รูปขันธ์ที่ดับแล้วในอดีต.
แม้ในขันธ์อื่นมีเวทนาเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมาย) อย่าง
(เดียวกัน) นี้ เหมือนกันแล.
บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงลักษณะแห่งสุญญตา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า กิญฺจ ภิกฺขเว รูปํ วเทถ ดังนี้เป็นต้น.
อธิบายว่า เปรียบเหมือนเมื่อโคฝูง (หนึ่ง) กำลังเที่ยวหากินอยู่
ชาย (คนหนึ่ง) กำลังตามหาโค (ของตน) ที่หายไป พอเห็นโคพลิพัท
ตัวสีขาว สีแดง หรือสีดำเข้า ก็ยังไม่อาจตกลงใจได้ด้วยเหตุที่เห็นเพียง

เท่านี้ว่า นี้คือฝูงโคของเรา เพราะเหตุไร?1 เพราะโคตัวอื่น ๆ ที่มี
ลักษณะเช่นนั้นก็ยังมีอยู่ แต่ครั้นได้เห็นรอยหอกและรอยหลาวเป็นต้น
ตามร่างกาย (ของโค) แล้ว เขาจึงตกลงใจได้ว่า นี้คือฝูงโคของเรา
ฉันใด (เรื่องสุญญตา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้
จะไต้ตรัสสุญญตาไว้แล้ว (แต่) ตราบใดที่ยังมิได้ตรัสถึงลักษณะของ
สุญญตาไว้ด้วย ตราบนั้นสุญญตานั้นก็ยังไม่เป็นอันตรัสไว้เสร็จสิ้นแล้ว
ต่อเมื่อได้ตรัสถึงลักษณะของสุญญตาไว้ด้วย (นั้นแล) จึงนับว่า
ได้ตรัสสุญญตาไว้เสร็จสิ้นแล้ว.
เพราะว่า สุญญตา เปรียบเหมือนโค ลักษณะของสุญญตา
เปรียบเหมือนลักษณะของโค เมื่อยังมิได้สังเกตถึงลักษณะของโค
โคก็ยังไม่นับว่าได้ถูกสังเกตไว้ดี ต่อเมื่อได้สังเกตถึงลักษณะของโคนั้น
แล้ว โคนั้นจึงนับว่าได้ถูกสังเกตไว้ดีแล้ว ฉันใด (ลักษณะของสุญญตา)
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ตรัสถึงลักษณะของ
สุญญตาไว้ด้วย สุญญตาก็ไม่นับว่าได้ตรัสไว้เสร็จสิ้นแล้ว แต่เมื่อได้
ตรัสถึงลักษณะของสุญญตานั้นไว้ด้วย สุญญตานั้นจึงเป็นอันตรัสไว้
เสร็จสิ้นแล้ว เพื่อจะทรงแสดงลักษณะแห่งสุญญตาดังว่ามานี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า กิญฺจ ภิกฺขเว รูปํ วเทถ ดังนี้เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจ เป็นคำถามถึงเหตุ. อธิบายว่า
ด้วยเหตุไร เธอทั้งหลายจึงเรียกว่ารูป คือด้วยเหตุไร รูปนั้นจึงชื่อว่ารูป
บทว่า อิติ ในคำว่า รุปฺปตีติ โข นี้ เป็นบทแสดงถึงเหตุ อธิบายว่า
ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นย่อยยับ ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูป.
1. ปาฐะว่า ตสฺมา ฉบับพม่าเป็น กสฺมา แปลตามฉบับพม่า

บทว่า รุปฺปติ ความว่า กำเริบ คือถูกกระทบกระทั่ง อธิบาย
ว่า ถูกบีบคั้น คือ แตกสลาย.
ในคำว่า สีเตนปิ รุปฺปติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :
ก่อนอื่น ความย่อยยับเพราะความหนาวปรากฏ. (ชัด) ในโลกันตริยนรก.
อธิบายว่า ในระหว่างจักรวาล 3 จักรวาล แต่ละจักรวาลมีโลกันตริยนรก
อยู่จักรวาลละหนึ่งแห่ง ซึ่ง (แต่ละแห่งกว้างใหญ่) ประมาณ 8,000 โยชน์
(และ) เบื้องล่างก็ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบนก็ไม่มีแสงเดือน แสงตะวัน
(ไม่มี) แสงประทีป (ไม่มี) แสงแก้วมณี มืดมิดตลอดกาล บรรดาสัตว์ที่
บังเกิดในโลกันตริยนรกนั้น มีอัตภาพประมาณ 3 คาวุต สัตว์เหล่านั้น
ใช้เล็บที่ยาวและหนา เกาะห้อยหัวอยู่ที่เชิงเขา คล้ายค้างคาว เมื่อใด
ห้อยโหน1ไปถึงกัน ชั่วช่วงแขน เมื่อนั้น สำคัญอยู่ว่า เราได้อาหารแล้ว
จะทะยาน2เข้าไปในที่นั้น ก็จะหมุนม้วนตกลงไปในน้ำที่ธารโลกไว้
ถูกลมปะทะขาดเป็นท่อน เหมือนผลมะซางตกลงไปในน้ำ พอตกลงไป
เท่านั้น ก็จะเดือดพล่าน แหลกเหลวอยู่ในน้ำกรด เหมือนก้อนแป้ง ตกลง
ในน้ำมันที่เดือด ฉะนั้น.
ความย่อยยับ เพราะถูกความหนาวปรากฏ (ชัด) ในโลกันตนรก
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
แม้ในบรรดาประเทศที่หนาวเย็น เพราะหิมะตก มีมหิสรัฐ
เป็นต้น ความย่อยยับ (แบบ) นั้นก็ปรากฏ (ชัด) แล้วเหมือนกัน
จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายในประเทศเหล่านั้น ถึงความสิ้นชีวิตไป เพราะ
มีสรีระแตกสลายไป เพราะความหนาว.
1. ปาฐะว่า สมฺผสฺสนฺตา ฉบับพม่าเป็น สํสปฺปนฺตา แปลตามฉบับพม่า
2. ปาฐะว่า ชาวนฺตา ฉบับพม่าเป็น พฺยาวฏา แปลตามฉบับพม่า

ความย่อยยับเพราะถูกความร้อน ปรากฏ (ชัด) ในอเวจีมหานรก.
ความย่อยยับเพราะความหิว ปรากฏ. (ชัด) ในเปรตวิสัย และในเวลา
เกิดข้าวยากหมากแพง. ความย่อยยับเพราะความระหาย ปรากฏ (ชัด)
ในอบายภูมิมีกาฬกัญชิกาอบายภูมิเป็นต้น.

กาฬกัญชิกอสูร


เล่ากันว่า กาฬกัญชิกอสูรตนหนึ่ง ไม่สามารถจะทนความ
ระหายได้ จึงลงมายังแม่น้ำมหาคงคา ซึ่งลึกและกว้างประมาณ
1 โยชน์ (ปรากฏว่า) ในที่ที่อสูรตนนั้นไปถึงน้ำแห้งหมด (มีแต่) ควัน
พลุ่งขึ้น เวลานั้นคล้ายกับว่าอสูรได้เดินกลับไปกลับมาอยู่บนหินดาด
ที่ร้อนระอุ. เมื่ออสูรนั้นได้ฟังเสียงน้ำแล้ว วิ่งไปวิ่งมาอยู่ (อย่างนั้น)
นั่นแล ราตรีก็สว่าง (พอดี). เวลานั้น พระผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรประมาณ 30 รูป กำลังเดินจะไปบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ เห็น
เปรตนั้นเข้าจึงถามว่า "โยม โยมเป็นใคร ?"
"กระผมเป็นเปรต ขอรับ " เปรตตอบ
"โยมกำลังหาอะไรอยู่เล่า ?" พระถาม
" น้ำดื่ม ขอรับ"
"แม่น้ำคงคานี้ (มีน้ำ) เต็มเปี่ยม โยมมองไม่เห็นหรือ ?"
"แม่น้ำไม่สำเร็จ (ประโยชน์) เลย พระคุณเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น ขอให้โยมนอนลงบนพื้นแม่น้ำคงคาเถิด ปวงอาตมา
จะตักน้ำดื่มเทลงไปในปากของโยม"