เมนู

อรรถกถาขัชชนิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในขัชชนิยสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ความว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสหมายเอาการระลึกถึงด้วยอำนาจอภิญญา
ก็หาไม่ แต่ตรัสหมายเอาสมณพราหมณ์ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในภพก่อนด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า สมณะหรือพราหมณ์
ย่อมระลึกถึงขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 5 เหล่านั้นทั้งหมด หรือ
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง บรรดาขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 5 เหล่านั้น.
อธิบายว่า ขันธ์ก็ดี อุปาทานขันธ์ก็ดี สิ่งที่เนื่องด้วยขันธ์ก็ดี
บัญญัติก็ดี จัดเป็นอารมณ์แห่งการระลึกถึงด้วยอำนาจอภิญญาทั้งนั้น.
บทว่า รูปญฺเญว อนุสฺสรติ ความว่า ภิกษุผู้ระลึกถึงอยู่อย่างนี้
ไม่ใช่ระลึกถึงสัตว์หรือบุคคลอะไร ๆ อื่น แต่ว่า เธอได้ระลึกถึงเฉพาะ
รูปขันธ์ที่ดับแล้วในอดีต.
แม้ในขันธ์อื่นมีเวทนาเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมาย) อย่าง
(เดียวกัน) นี้ เหมือนกันแล.
บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงลักษณะแห่งสุญญตา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า กิญฺจ ภิกฺขเว รูปํ วเทถ ดังนี้เป็นต้น.
อธิบายว่า เปรียบเหมือนเมื่อโคฝูง (หนึ่ง) กำลังเที่ยวหากินอยู่
ชาย (คนหนึ่ง) กำลังตามหาโค (ของตน) ที่หายไป พอเห็นโคพลิพัท
ตัวสีขาว สีแดง หรือสีดำเข้า ก็ยังไม่อาจตกลงใจได้ด้วยเหตุที่เห็นเพียง