เมนู

อรรถกถาอรหันตสูตรที่ 2



สูตรที่ 5 เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้เป็นร้อยแก้วล้วน ๆ
ไม่มีคาถา ก็ตรัสตามอัธยาศัยของผู้ฟังผู้จะตรัสรู้.
จบ อรรถกถาอรหันตสูตรที่ 2

6. สีหสูตร



ว่าด้วยอุปมาพระพุทธเจ้ากับพญาราชสีห์



[155] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราช
เวลาเย็นออกจากที่อาศัย แล้วก็เหยียดกาย ครั้นแล้วก็เหลียวแลดูทิศ
ทั้ง 4 โดยรอบ แล้วก็ได้บันลือสีหนาท 3 ครั้ง จึงออกเดินไปเพื่อหากิน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีห-
มฤคราชบันลือสีหนาทอยู่ โดยมากจะถึงความกลัว ความตกใจ และ
ความสะดุ้ง จำพวกที่อาศัยอยู่ในรู จะเข้ารู จำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำ
จะดำน้ำ จำพวกที่อาศัยอยู่ในป่าจะเข้าป่า จำพวกปักษีจะบินขึ้นสู่
อากาศ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถึงพระยาช้างทั้งหลายของพระมหากษัตริย์
ซึ่งล่ามไว้ด้วยเครื่องผูก คือ เชือกหนังที่เหนียว ในคามนิคมและราชธานี
ก็จะสลัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด กลัวจนมูตรคูถไหล
หนีเตลิดไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพ
ยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล.
[156] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
แล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงแสดงธรรมว่า
รูปเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน
มีวรรณะงาม มากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง
ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว
ความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าพ่อมหาจำเริญทั้งหลายเอ๋ย นัยว่า
เราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ แต่ได้เข้าใจว่าเที่ยง เราทั้งหลายเป็น
ผู้ไม่ยั่งยืนเลย แต่ได้เข้าใจว่ายั่งยืน เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่แน่นอนเลย
แต่ได้เข้าใจว่าแน่นอน พ่อมหาจำเริญทั้งหลาย.ได้ทราบว่า ถึงพวกเราก็
เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน นับเนื่องแล้วในกายตน. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับทั้งเทวโลก
เช่นนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
[157] เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบมิได้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
ทรงประกาศธรรมจักร คือ ความเกิดพร้อมแห่ง
กายตน ความดับแห่งกายตน และอัฏฐังคิกมรรค
อันประเสริฐ อันให้ถึงความสงบทุกข์ แก่สัตว์โลก
กับทั้งเทวโลก. เมื่อนั้น แม้ถึงเทวดาทั้งหลาย
ผู้มีอายุยืน มีวรรณะงาม มียศ ก็กลัว ถึงความ

สะดุ้งว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา
ไม่เที่ยง ไม่ล่วงพ้นกายตนไปได้ ดังนี้ เพราะได้
สดับถ้อยคำของพระอรหันต์ผู้หลุดพ้น ผู้คงที่
เหมือนหมู่มฤคสะดุ้งต่อพญาสีหมฤคราช ฉะนั้น.

จบ สีหสูตร

อรรถกถาสีหสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-

ราชสีห์ 4 จำพวก


บทว่า สีโห ได้แก่ ราชสีห์ 4 จำพวก คือ ติณราชสห์ จำพวก 1.
กาฬราชสีห์ จำพวก 1 ปัณฑุราชสีห์ จำพวก 1 ไกรสรราชสีห์ จำพวก 1.
บรรดาราชสีห์ 4 จำพวกนั้น ติณราชสีห์ (มีรูปร่าง) เป็นเหมือน
แม่โค สีคล้ายนกพิราบ และกินหญ้าเป็นอาหาร.
กาฬราชสีห์ (มีรูปร่าง) เป็นเหมือนแม่โคดำ กินหญ้าเป็น
อาหารเหมือนกัน.
ปัณฑุราชสีห์ (มีรูปร่าง) เป็นเหมือนแม่โคสีคล้ายใบไม้เหลือง
กินเนื้อเป็นอาหาร.
ไกรสรราชสีห์ ประกอบด้วย (ลักษณะคือ) ดวงหน้า (ที่สวยงาม)
เป็นเหมือนมีใครเอาน้ำครั่งมาแต่งเติมไว้ หางที่มีปลาย (สวยงาม)
และปลายเท้าทั้ง 4 ตั้งแต่ศีรษะของราชสีห์นั้นลงไป มีแนวปรากฏอยู่
3 แนว ซึ่งเป็นเหมือนมีใครมาแต้มไว้ ด้วยสีน้ำครั่ง สีชาด และ