เมนู

4. อรรถกถาอรหันตสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในอรหันตสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตาวาสา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชื่อว่า สัตตาวาส มีอยู่ประมาณเท่าใด. บทว่า ยาวตา ภวคฺคํ ความว่า
ชื่อว่า ภวัคคพรหม (พรหมสถิตย์อยู่ในภพสูงสุด ) มีอยู่ประมาณเท่าใด.
บทว่า เอเต อคฺคา เอเต เสฏฺฐา ความว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น
นับว่า เป็นเลิศ และประเสริฐที่สุด บทว่า ยทิทํ อรหนฺโต คือ เยเมว1
อรหนฺโต นาม
(แปลว่า ชื่อว่า พระอรหันต์เหล่านี้ใดแล) แม้พระสูตรนี้
ก็พึงทราบว่า เพิ่มพูนความยินดีและเร้าใจโดยนัยก่อนนั่นแล. บทว่า
อถาปรํ เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนั่น
คือพระดำรัสมีอาทิว่า สุขิโน วต อรหนฺโต (พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นสุข
แท้หนอ) ด้วยคาถาทั้งหลายที่กำหนดแสดงความหมายนั้น และที่กำหนด
แสดงความหมายพิเศษ.

คุณสมบัติพิเศษของพระอรหันต์



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน คือ (พระอรหันต์ทั้งหลาย)
เป็นสุขด้วยความสุขอันเกิดจากการเข้าฌาน ด้วยความสุขอันเกิดจาก
การบรรลุมรรค และด้วยความสุขอันเกิดจากการบรรลุผล.
บทว่า ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านั้น
ไม่มีตัณหาที่เป็นตัวการให้เกิดทุกข์ (ที่จะต้องได้รับ) ในอบาย.
พระอรหันต์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นสุขแท้ทีเดียว เพราะไม่มีทุกข์ที่มีตัณหา
เป็นมูลแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.
1. ปาฐะว่า เยเมว ฉบับพม่าเป็น เย อิเม

บทว่า อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน ความว่า อัสมิมานะ (ความ-
สำคัญว่า เรามีอยู่) 9 อย่าง (พระอรหันต์) ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า โมหชาลํ ปทาลิตํ ความว่า ข่ายคือกิเลส (พระอรหันต์)
ทำลายแล้วด้วยญาณ.
บทว่า อเนชํ ได้แก่ พระอรหัตต์เป็นเครื่องละตัณหา กล่าวคือ
เอชา1 .
บทว่า อนุปลิตฺตา ได้แก่ (พระอรหันต์) ไม่ถูกฉาบไล้ ด้วย
เครื่องฉาบไล้ คือ ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า พฺรหฺมภูตา แปลว่า ประเสริฐ
ที่สุด. บทว่า ปริญฺญาย ได้แก่ กำหนดรู้แล้วด้วยปริญญา 3. ในบทว่า
สตฺตสทฺธมฺมโคจรา มีวิเคราะห์ว่า สัทธรรม 7 ประการเหล่านี้ คือ
ศรัทธา 1 หิริ 1 โอตตัปปะ 1 พาหุสัจจะ 1 ความเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร 1 ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น 1 ปัญญา 1
เป็นอารมณ์ของ
พระอรหันต์เหล่านั้น เหตุนั้นพระอรหันต์เหล่านั้นจึงชื่อว่า มีสัทธรรม 7
เป็นอารมณ์.
บทว่า สตฺตรตนสมฺปนฺนา ได้แก่ ประกอบด้วยรัตนะคือ โพชฌงค์
7 ประการ.
บทว่า อนุวิจรนฺติ ความว่า แม้เหล่าโลกิยมหาชนก็เที่ยว
ถามอยู่ร่ำไป.
ก็ในสูตรนี้ ท่านมุ่งถึง อาจาระที่ปราศจากข้อระแวงสงสัยของ
พระขีณาสพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ปหีนภยเภรวา (ผู้ละความกลัวธรรมดาและความกลัวขั้นรุนแรงได้แล้ว).
1. ปาฐะว่า อเนชาสงฺขาตาย แต่ฉบับพม่าเป็น เอชาสงฺขาตาย แปลตามฉบับพม่า

ในบทว่า ปหีนภยเภรวา นั้น มีอธิบายว่า ความกลัวขั้นธรรมดา
ชื่อว่า ภัย ความกลัวขั้นรุนแรงชื่อว่า เภรวะ.
บทว่า ทสหงฺเคหิ สมฺปนฺนา ได้แก่ ประกอบด้วยองค์ที่เป็นอเสขะ.
บทว่า มหานาคา ได้แก่ เป็นมหานาคด้วยเหตุ 4 ประการ.
บทว่า สมาหิตา ได้แก่ (มีใจมั่นคง) ด้วยอุปจารสมาธิและ
อัปปนาสมาธิ
บทว่า ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านั้นไม่มีแม้
ตัณหาที่ทำ (สัตว์โลก) ให้เป็นทาสซึ่งพระรัฐบาลเถระกล่าวไว้อย่างนี้
ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้
แล้วว่า สัตว์โลกพร่องอยู่ (เป็นนิตย์) ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงภาวะที่พระขีณาสพทั้งหลายเป็นไท
ด้วยบทว่า ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ นี้.
บทว่า อเสกฺขญลญาณํ ได้แก่ ญาณในอรหัตตผล.
บทว่า อนฺติโมยํ สมุสฺสโย แปลว่า อัตตภาพนี้มีเป็นครั้งสุดท้าย.
บทว่า โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส ความว่า ผลชื่อว่า เป็นสาระแห่ง
พรหมจรรย์คือมรรค.
บทว่า ตสฺมึ อปรปจฺจยา ความว่า ดำรงอยู่ในอริยผลนั้น
แทงตลอดโดยประจักษ์ (ด้วยตนเอง) ทีเดียวว่า สมบัตินี้ไม่ใช่สมบัติ
ของผู้อื่น.
บทว่า วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ คือ ไม่หวั่นไหวในส่วนแห่งมานะ 3.
บทว่า ทนฺตภูมึ ได้แก่ อรหัตตผล.

บทว่า วิชิตาวิโน ได้แก่ ชำนะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น
อย่างเด็ดขาด.
ในบทว่า อุทฺธํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
(ในร่างกาย) ปลายผม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า
เบื้องบน (อุทฺธํ) ฝ่าเท้า ตรัสเรียกว่า เบื้องล่าง (อปาจี) กลางลำตัว
ตรัสเรียกว่า เบื้องขวาง (ติริยํ)
(ในอารมณ์) อารมณ์ที่เป็นอดีตตรัสเรียกว่า เบื้องบน อารมณ์
ที่เป็นอนาคตตรัสเรียกว่า เบื้องล่าง อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันตรัสเรียกว่า
เบื้องขวาง.
อีกอย่างหนึ่ง (ในโลก) เทวโลกตรัสเรียกว่า เบื้องบน อบายโลก
ตรัสเรียกว่า เบื้องล่าง มนุสสโลก ตรัสเรียกว่า เบื้องขวาง.
บทว่า นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านั้น
ไม่มีตัณหาในฐานะเหล่านั้น หรือเมื่อว่าโดยย่อ (ก็คือ) ไม่มีตัณหาใน
ขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน.
ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงว่า พระอรหันต์
ทั้งหลาย ไม่มีตัณหาที่เป็นมูลรากของวัฏฏะ
บทว่า พุทฺธา ได้แก่ ผู้รู้สัจจะ 4.
ในพระคาถานี้ มีการประมวลสีหนาทดังไปนี้ :-
พระขีณาสพทั้งหลายสถิตย์อยู่เบื้องหลังภพ (ผู้ข้ามภพได้แล้ว)
ย่อมบันลือสีหนาท1 กล่าวคือ บันลืออย่างไม่หวาดกลัวว่าเราทั้งหลาย
1. ปาฐะว่า นทนฺตขีณาสวานํ โหติ ฉบับพม่าเป็น สีหนาทํ นทนฺติ ขีณาสวา
แปลตามฉบับพม่า

อยู่เป็นสุขด้วยวิมุตติสุข ตัณหาที่ทำให้อยู่เป็นทุกข์เราทั้งหลายละได้แล้ว
ขันธ์ 5 เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้ว ตัณหาที่ทำให้สัตว์โลกเป็นทาส
และตัณหาที่เป็นมูลของวัฏฏะ นับว่า เราทั้งหลายละได้แล้ว เราทั้งหลาย
เป็นผู้ที่ไม่มีใครยิ่งไปกว่า (และ) ไม่เหมือนใคร ชื่อว่า พุทธะ (สาวกพุทธ)
เพราะรู้สัจจะ 4.
จบ อรรถกถาอรหันตสูตรที่ 1

5. อรหันตสูตรที่ 2



ว่าด้วยพระอรหันต์เป็นผู้เลิศในโลก



[154] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง
ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่
อย่างนี้ จะเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร
ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตจะหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว จะมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว จะรู้ชัด
ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์
ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก กว่าสัตตาวาสและ
ภวัคคพรหม.
จบ อรหันตสูตรที่ 2