เมนู

3. สมุทยสูตรที่ 2



ว่าด้วยการรู้ ความเกิดดับแห่งขันธ์ 5



[151] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้
ได้สดับแล้ว จะรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
ของรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ. และอุบายเครื่องสลัดออก
ซึ่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ.
จบ สมุทยสูตรที่ 2

อรรถกถาขัชชนิยวรรค



ใน 3 สูตรแรกของขัชชนิยวรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
อริยสัจ 4 ไว้ทั้งนั้น.

4. อรหันตสูตรที่ 1



ว่าด้วยพระอรหันต์เป็นผู้เลิศในโลก



[152] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง
ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
จะเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย จะคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจะ
หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว จะมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว จะรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย
เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก กว่าสัตว์ชั้นสัตตาวาสและภวัคคพรหม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
[153] พระอรหันต์ทั้งหลาย มีความ
สุขหนอ เพราะท่านไม่มีตัณหา ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด
ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว. พระอรหันต์เหล่านั้น
ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหว มีจิตไม่ขุ่นมัว ท่านเหล่านั้น
ไม่แปดเปื้อนแล้ว ด้วยเครื่องแปดเปื้อนคือตัณหาและ
ทิฏฐิในโลก เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ เป็นสัต-
บุรุษ เป็นพุทธชิโนรส กำหนดรู้เบญจขันธ์ มี
สัทธรรม 7 เป็นโคจร ควรสรรเสริญ เป็นมหาวีรผู้
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ ศึกษาแล้วในไตร-
สิกขา ละความกลัวและความขลาดได้เด็ดขาด
แล้ว ย่อมท่องเที่ยวไป โดยลำดับ. ท่านมหานาคผู้
สมบูรณ์ด้วยองค์ 10 ประการเหล่านี้แล มีจิตตั้งมั่น
ประเสริฐสุดในโลก. ท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา. อเสขญาณ
ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน. ท่านมีร่างกายนี้เป็นครั้ง
สุดท้าย ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ในคุณที่เป็นแก่นสารแห่ง
พรหมจรรย์. ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหว เพราะมานะ
หลุดพ้นจากภพใหม่ ถึงอรหัตตภูมิแล้ว ชนะเด็ดขาด
แล้วในโลก.ท่านเหล่านั้นไม่มีความเพลิดเพลินอยู่ใน
ส่วนเบื้องบน ท่ามกลางและเบื้องล่าง เป็นพุทธผู้ยอด
เยี่ยมในโลก บันลือสีหนาทอยู่.

4. อรรถกถาอรหันตสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในอรหันตสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตาวาสา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชื่อว่า สัตตาวาส มีอยู่ประมาณเท่าใด. บทว่า ยาวตา ภวคฺคํ ความว่า
ชื่อว่า ภวัคคพรหม (พรหมสถิตย์อยู่ในภพสูงสุด ) มีอยู่ประมาณเท่าใด.
บทว่า เอเต อคฺคา เอเต เสฏฺฐา ความว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น
นับว่า เป็นเลิศ และประเสริฐที่สุด บทว่า ยทิทํ อรหนฺโต คือ เยเมว1
อรหนฺโต นาม
(แปลว่า ชื่อว่า พระอรหันต์เหล่านี้ใดแล) แม้พระสูตรนี้
ก็พึงทราบว่า เพิ่มพูนความยินดีและเร้าใจโดยนัยก่อนนั่นแล. บทว่า
อถาปรํ เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนั่น
คือพระดำรัสมีอาทิว่า สุขิโน วต อรหนฺโต (พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นสุข
แท้หนอ) ด้วยคาถาทั้งหลายที่กำหนดแสดงความหมายนั้น และที่กำหนด
แสดงความหมายพิเศษ.

คุณสมบัติพิเศษของพระอรหันต์



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน คือ (พระอรหันต์ทั้งหลาย)
เป็นสุขด้วยความสุขอันเกิดจากการเข้าฌาน ด้วยความสุขอันเกิดจาก
การบรรลุมรรค และด้วยความสุขอันเกิดจากการบรรลุผล.
บทว่า ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านั้น
ไม่มีตัณหาที่เป็นตัวการให้เกิดทุกข์ (ที่จะต้องได้รับ) ในอบาย.
พระอรหันต์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นสุขแท้ทีเดียว เพราะไม่มีทุกข์ที่มีตัณหา
เป็นมูลแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.
1. ปาฐะว่า เยเมว ฉบับพม่าเป็น เย อิเม