เมนู

ไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร เธอพึงทราบอรรถแห่งคำ
ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด.
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าลุกจากอาสนะ ถวายบังคม กระทำประทักษิณแล้ว
หลีกไป ครั้งนั้นแล เธอเป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ อภินันทมานสูตรที่ 3

อรรถกถาอภินนทมานสูตรที่ 3



ในอภินันทมานสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภินนฺทมาโน ได้แก่ เพลิดเพลินด้วยตัณหา มานะและ
ทิฏฐินั่นแหละ.
จบ อรรถกถาอภินันทมานสูตรที่ 3

4. อนิจจสูตร



ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งเป็นอนิจจัง



[142] กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดง
พระธรรมเทศนา โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว
ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
พ. ดูก่อนภิกษุ สิ่งใดแลเป็นของไม่เที่ยง เธอควรละความ
พอใจในสิ่งนั้นเสีย.
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่
พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.
พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ
เสีย ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
พ. ดีแล้ว ๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อ โดยพิสดารอย่างดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง ควรละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ
เสีย เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร
อย่างนี้เถิด ฯลฯ ก็ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ อนิจจสูตรที่ 4

อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 4



ในอนิจจสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจตัณหา.
จบ อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 4

5. ทุกขสูตร



ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์



[143] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดง
พระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว
ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ สิ่งใดแลเป็นทุกข์
เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่
พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.
พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า ?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ เสีย