เมนู

พึงทราบดังนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะขันธ์ 5 เหล่านี้
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำอธิบายอย่างพิสดารในคำว่า
ยงฺกิญฺ จิ รูปํ เป็นต้น กล่าวไว้แล้วในขันธนิเทศ ตอนว่าด้วยปัญญาภาวนา
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง พึงทราบตามทำนองที่
กล่าวแล้วนั่นและ ก็ในพระสูตรนี้ ท่านกล่าวอนัตตลักษณะเท่านั้นแล.
จบ อรรถกถาปัญจวัคคิยสูตรที่ 7

8. มหาลิสูตร



ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์



[131] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี
ครั้งนั้นแล เจ้ามหาลีลิจฉวีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านปูรณกัสสปพูดอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความเศร้าหมอง
ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุไม่มี
ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
ย่อมบริสุทธิ์เอง ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนมหาลิ เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมอง
ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมอง เหตุมี ปัจจัยมี
เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์.
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของ
สัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองอย่างไร.

พ. ดูก่อนมหาลิ ก็หากรูปนี้จะเป็นทุกข์ถ่ายเดียว รังแต่ทุกข์
ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป ก็เพราะรูปเป็นสุข สุขตามสนอง หยั่งลงสู่
ความสุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์เสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
กำหนัดในรูป เพราะกำหนัดจึงถูกประกอบเข้าไว้ เพราะถูกประกอบ
จึงเศร้าหมอง ดูก่อนมหาลิ แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความ
เศร้าหมองของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง แม้ด้วย
อาการอย่างนี้ ดูก่อนมหาลิ ก็หากเวทนานี้เป็นทุกข์ถ่ายเดียว ฯลฯ
ก็หากสัญญานี้เป็นทุกข์ถ่ายเดียว ฯลฯ ก็หากสังขารนี้เป็นทุกข์ถ่ายเดียว
ฯลฯ ก็หากวิญญาณนี้เป็นทุกข์ถ่ายเดียว รังแต่ทุกข์ตามสนอง
หยั่งลงสู่ความทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงกำหนัดในวิญญาณ ก็เพราะวิญญาณเป็นสุข สุขตามสนอง
หยั่งลงสู่ความสุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์เสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย
จึงกำหนัดในวิญญาณ เพราะกำหนัด จึงถูกประกอบเข้าไว้ เพราะ
ถูกประกอบ จึงเศร้าหมอง ดูก่อนมหาลิ แม้ข้อนี้แลก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง
แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
[132] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนเหตุปัจจัยเพื่อความ
บริสุทธิ์ของสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์ได้
อย่างไร.
พ. ดูก่อนมหาลิ ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นสุขถ่ายเดียว สุขตามสนอง
หยั่งลงสู่ความสุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็จะ
ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป ก็เพราะรูปเป็นทุกข์ ทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่

ความทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขเสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
เบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงบริสุทธิ์ แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อน
มหาลิ ก็หากว่าเวทนาเป็นสุขถ่ายเดียว ฯลฯ สัญญาเป็นสุขถ่ายเดียว
ฯลฯ สังขารเป็นสุขถ่ายเดียว ฯลฯ วิญญาณเป็นสุขถ่ายเดียว สุขตาม
สนอง หยั่งลงสู่ความสุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์บ้างแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ ก็เพราะวิญญาณเป็นทุกข์ ทุกข์ตาม
สนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขเสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์
แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
จบ มหาลิสูตรที่ 8

อรรถกถามหาลิสูตรที่ 8



ในมหาลิสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เอกนฺตทุกฺขํ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในธาตุสังยุตนั่นแล.
จบ อรรถกถามหาลิสูตรที่ 8