เมนู

เพราะพระองค์ทรงยกพระขีณาสพขึ้นสรรเสริญ พึงทราบว่า
เป็นที่ตั้งแห่งความยั่วยวน เพราะพระเสขะทั้งหลายก็อยากได้.
ก็ในคำนี้ว่า เอวํโข ภิกฺขเว ภิกฺขุ สตฺตฏฺฐานกุสโล โหติ นี้
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงด้วยการพิจารณามรรคจิต
และผลจิตด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ พระองค์ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ติวิธูปปริกฺขี โหติ อีกก็เพื่อทรงแสดงเหตุเป็น
เครื่องอยู่ 7 ประการของพระขีณาสพ อย่างนี้ว่า พระขีณาสพย่อมอยู่
ด้วยเหตุเป็นเครื่องอยู่ 7 ประการ ในอารมณ์ใด อารมณ์นั้นไม่ใช่เป็น
สัตว์หรือบุคคล แต่เป็นเพียงธาตุเป็นต้นเท่านั้น และแสดงถึงอาคมนีย-
ปฏิปทาว่า ในธรรมเหล่านี้ ธรรมนี้มาเพราะทำกรรม. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโส อุปปริกฺขติ ความว่า เห็น คือตรวจดูโดยความ
เป็นธาตุ. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.
จบ อรรถกถาสัตตัฏฐานสูตรที่ 5

6. พุทธสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าต่างกับภิกษุหลุดพ้นด้วยปัญญา



[125] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะ
ไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เทวดาและ
มนุษย์ต่างพากันเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ

คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา...
สังขาร....วิญญาณ เราเรียกว่า ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
[126] ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน
จะมีอะไรเป็นข้อประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน จะมีอะไรเป็นเหตุทำให้ต่างกัน
ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับภิกษุผู้หลุดพ้นได้
ด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของ
ข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน เป็นแบบฉบับ
เป็นที่อิงอาศัย ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่งภาษิตนี้จง
แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียวเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อ
พระผุ้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ยังประชุมชนให้
รู้จักมรรคที่ใครๆไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง
ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สาวก
ทั้งหลาย ในบัดนี้ เป็นผู้ที่ดำเนินไปตามทาง เป็นผู้ตามมาในภายหลัง
อันนี้แลเป็นข้อแปลกกัน อันนี้เป็นข้อประสงค์ยิ่งกว่ากัน อันนี้เป็นเหตุ
ทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ
ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
จบ พุทธสูตรที่ 6

อรรถกถาพุทธสูตรที่ 6



ในพุทธสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โก อธิปฺปายโส ความว่า อะไรเป็นความประสงค์ที่
ยิ่งกว่ากัน. บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปทรงให้มรรคจิตนี้เกิดขึ้น ถัดจากนั้น ศาสดาอื่น
ไม่อาจให้เกิดขึ้นได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าทำมรรคจิตที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ในนคโรปัมมสูตร ทางเก่าเกิดในที่ที่
ไม่มีร่องรอย ในที่นี้ชื่อว่ามรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ายังไม่
เป็นไป. บทว่า อสญฺชาตสฺส เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุปฺปนฺนสฺส
นั่นเอง. บทว่า อนกฺขาตสฺส ได้แก่มิได้ตรัสไว้. ชื่อว่า มัคคัญญู
เพราะรู้มรรคจิต. ชื่อว่า มัคควิทู เพราะทำมรรคจิตให้แจ่มแจ้ง
คือให้ปรากฏ. ชื่อว่า มัคคามัคคโกวิทะ เพราะฉลาดในมรรคจิตและ
ธรรมชาติมิใช่มรรคจิต. บทว่า มคฺคานุคา แปลว่า ไปตามมรรคจิต.
บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า เราถึงก่อน สาวกถึงภายหลัง.
จบ อรรถกถาพุทธสูตรที่ 6

7. ปัญจวัคคิยสูตร



ว่าด้วยอนัตตลักษณะ



[127] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่า
อิสปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกภิกษุเบญจวัคคีย์ ฯลฯ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่
ตัวตน ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ รูปนี้ก็คงไม่เป็นไปเพื่อ