เมนู

เพราะพระองค์ทรงยกพระขีณาสพขึ้นสรรเสริญ พึงทราบว่า
เป็นที่ตั้งแห่งความยั่วยวน เพราะพระเสขะทั้งหลายก็อยากได้.
ก็ในคำนี้ว่า เอวํโข ภิกฺขเว ภิกฺขุ สตฺตฏฺฐานกุสโล โหติ นี้
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงด้วยการพิจารณามรรคจิต
และผลจิตด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ พระองค์ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ติวิธูปปริกฺขี โหติ อีกก็เพื่อทรงแสดงเหตุเป็น
เครื่องอยู่ 7 ประการของพระขีณาสพ อย่างนี้ว่า พระขีณาสพย่อมอยู่
ด้วยเหตุเป็นเครื่องอยู่ 7 ประการ ในอารมณ์ใด อารมณ์นั้นไม่ใช่เป็น
สัตว์หรือบุคคล แต่เป็นเพียงธาตุเป็นต้นเท่านั้น และแสดงถึงอาคมนีย-
ปฏิปทาว่า ในธรรมเหล่านี้ ธรรมนี้มาเพราะทำกรรม. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโส อุปปริกฺขติ ความว่า เห็น คือตรวจดูโดยความ
เป็นธาตุ. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.
จบ อรรถกถาสัตตัฏฐานสูตรที่ 5

6. พุทธสูตร



ว่าด้วยพระพุทธเจ้าต่างกับภิกษุหลุดพ้นด้วยปัญญา



[125] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะ
ไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เทวดาและ
มนุษย์ต่างพากันเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ