เมนู

ผู้ใดมีปกติไม่เห็นพระอริยะเจ้าเหล่านั้นในบัดนี้ และไม่ทำความดี
ในการเห็น ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้า และผู้ไม่เห็น
พระอริยะเจ้านั้นมี 2 จำพวก คือผู้ไม่เห็นด้วยจักษุพวกหนึ่ง ผู้ไม่เห็น
ด้วยญาณพวกหนึ่ง ใน 2 พวกนั้น ผู้ไม่เห็นด้วยญาณท่านประสงค์เอา
ในที่นี้. แม้ผู้ที่เห็นพระอริยะเจ้าด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ ก็ชื่อว่า
เป็นอันไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะถือเอาเพียงสี (รูป) แห่งจักษุเหล่านั้น
ไม่ใช่ถือเอาโดยเป็นอารมณ์แห่งอริยปัญญา แม้สัตว์เดียรัจฉาน มี
สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยเจ้าด้วยจักษุ และ
สัตว์เหล่านั้นจะชื่อว่าไม่เห็นพระอริยเจ้าก็หามิได้

ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์


เล่ากันมาว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ ณ จิตรลดา-
บรรพต เป็นผู้บวชเมื่อแก่ วันหนึ่งท่านเที่ยวบิณฑบาตกับพระเถระ
ถือบาตรและจีวรของพระเถระเดินไปข้างหลังถามพระเถระว่า
ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร. พระเถระ
ตอบว่า บุคคลบางตนในโลกนี้เป็นคนแก่ ถือบาตรและจีวรของ
พระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกัน ก็ไม่รู้จักพระอริยะ
ผู้มีอายุ พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้. แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น
ท่านก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเอง เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุและการเห็น
ด้วยญาณ (ปัญญา) ก็ชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อน วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้.
ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.
เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่

พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุ
แล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำ
ความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ.
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมต่าง
โดยสติปัฏฐานเป็นต้น ก็ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ขึ้นชื่อว่าวินัย มี 2 อย่าง ใน 2 อย่างนี้
แต่ละอย่างแบ่งเป็น 5 อย่าง ท่านเรียกปุถุชนนี้
ว่า มิได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น.

ก็วินัยนี้มี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย 1 ปหานวินัย 1 และในวินัย
2 อย่างนี้ วินัยแต่ละอย่างแบ่งเป็น 5 อย่าง.
แม้สังวรวินัยก็มี 5 อย่าง คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร
ขันติสังวร วิริยสังวร.
แม้ปหานวินัยก็มี 5 อย่าง คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน
สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน.
ใน 5 อย่างนั้น สังวรในประโยคว่า อิมินา ปาฏิโมกฺขสํวเรน
อุเปโต โหติ สมุเปโต
ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วย
ปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่า สีลสังวร สังวรในประโยคว่า รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริยํ
จกฺขุนฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชติ
ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร สังวรในคาถาว่า

ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ
โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเรา
กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแส
กระแสเหล่านั้น
เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส
ทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตจะปิดได้
ด้วยปัญญา. นี้ชื่อว่า ญาณสังวร

สังวรในประโยคว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส ภิกษุย่อมอดทน
ต่อหนาวต่อร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร สังวรในประโยคว่า อุปฺปนฺนํ
กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ
ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ นี้ชื่อ
วิริยสังวร อนึ่ง สังวรทั้งหมดนี้ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่อง
ปิดกั้นกายทุจริตเป็นต้นที่จะพึงปิดกั้นตามหน้าที่ของตน และท่าน
เรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องกำจัดกายทุจริตเป็นต้นที่จะพึงกำจัด
ตามหน้าที่ของตน สังวรวินัยพึงทราบว่า แบ่งเป็น 5 อย่าง ด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.
อนึ่ง ในวิปัสสนาญาณมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น การละ
อนัตถะนั้นๆด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เหมือนการละความมืดด้วย
แสงประทีปนั่นแล โดยความเป็นปฏิปักษ์กัน คือ ละสักกายทิฏฐิด้วย
การกำหนดนามรูป ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและทิฏฐิที่มีเหตุไม่เสมอกันด้วย
การกำหนดปัจจัย ละวิจิกิจฉาด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิอันเป็นส่วน
เบื้องปลายแห่งการกำหนดปัจจัยนั้นแหละ ละการยึดถือว่า เรา ของเรา
ด้วยการพิจารณานามรูปโดยเป็นกลาป ละสัญญาในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่า
เป็นทางด้วยมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็น

ความเกิดของนามรูป ละสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับของนามรูป
ละสัญญาในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัย ด้วยการเห็นนามรูปว่าเป็นภัย ละสัญญา
ในอิสสาทะความยินดี ด้วยการเห็นอาทีนพโทษ ละสัญญาในอภิรติ
ความยินดี ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ละความไม่อยากปล่อย ด้วย
มุญจิตุกามยตาญาณ ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละภาวะที่เป็น
ปฏิโลมในธรรมฐิติญาณ และในนิพพานด้วยอนุโลมญาณ ละการยึดถือ
นิมิตในสังขารด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
อนึ่ง การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นๆ ด้วยอุปจารสมาธิและ
อัปปนาสมาธินั่นแล เหมือนการกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำด้วยการกั้นด้วยไม้
โดยห้ามภาวะ คือความเป็นไปเสีย นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.
การละหมู่กิเลสที่เป็นฝักฝ่ายสมุทัย ที่กล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า
เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนโดยมรรคนั้นๆ เพราะทำอริยมรรค 4
ให้เกิด โดยมิให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด นี้ชื่อว่าสมุจเฉทปทาน. อนึ่ง
การระงับกิเลสทั้งหลายในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
พระนิพพานที่ละสังขตธรรมได้หมด เพราะสลัดสังขตธรรม
ทั้งหมดได้ นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
อีกอย่างหนึ่ง ปหานทั้งหมดนี้ เหตุที่ท่านเรียกว่า ปหาน เพราะ
อรรถว่า สละ เรียกว่า วินัย เพราะอรรถว่า กำจัด ฉะนั้นท่านจึง
เรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ปหานนี้ท่านเรียกว่า ปหานวินัย
เพราะมีการละกิเลสนั้นๆ และเพราะมีการกำจัดกิเลสนั้นๆ แม้
ปหานวินัย ก็พึงทราบว่า แบ่งเป็น 5 ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยสังเขปมี 2 อย่าง โดยประเภทมี 10 อย่าง ย่อมไม่มี
แก่ปุถุชนผู้ไม่ได้ศึกษานั้น เพราะเป็นผู้ทำลายสังวร และเพราะไม่ละ

สิ่งที่ควรละ ฉะนั้นปุถุชนนี้ท่านจึงเรียกว่า ผู้ไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มี
วินัยนั้น. แม้ในคำนี้ว่า สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท
สปฺปุริสธมฺเม อวีนีโต
ก็นัยนี้.ความจริง คำนี้ว่าโดยอรรถไม่แตกต่างกัน
เลย. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ผู้เป็นอริยะก็คือสัตบุรุษ ผู้เป็นสัตบุรุษก็คือ
อริยะ ธรรมของอริยะก็คือธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษก็คือ
ธรรมของอริยะ วินัยของอริยะก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษ
ก็คือวินัยของอริยะ. คำว่า อริเย ก็ตาม สปฺปุริเส ก็ตาม อริยธมฺเม ก็ตาม
สปฺปุริสธมฺเม ก็ตาม อริยวินเย ก็ตาม สปฺปุริสวินเย ก็ตาม นี้ๆเป็น
อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน มีสภาพเป็นอย่างนั้น
อื่นๆก็เป็นอย่างนั้น.
บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุบางรูปในศาสนานี้
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนว่า รูปอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
รูปก็อันนั้น พิจารณาเห็นรูปและอัตตาว่าเป็นอย่างเดียวกัน. ภิกษุบางรูป
ในศาสนานี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ พิจารณาเห็นรูปและ
ตนว่าเป็นอย่างเดียวกัน รวมความว่า ย่อมเห็นรูปด้วยทิฏฐิว่า ตนเหมือน
ประทีปน้ำมันที่กำลังตามอยู่ คนย่อมเห็นเปลวไฟและสีเป็นอย่างเดียวกัน
ว่า เปลวไฟอันใด สีก็อันนั้น สีอันใด เปลวไฟก็อันนั้น.บทว่า รูปวนฺตํ วา
อตฺตานํ
ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปว่าเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งที่ไม่มี
รูปนั้นว่ามีรูป เหมือนเห็นต้นไม้ที่มีเงา. บทว่า อตฺตนิ วา รูปํ ความว่า
ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแหละว่าเป็นตน พิจารณาเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่น
ในดอกไม้.บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตานํ ความว่า ยึดสิ่งที่ไม่มีรูปนั่นแลว่าตน
พิจารณาเห็นตนนั้นในรูป เหมือนแก้วมณีในขวด. บทว่า ปริยุฏฺฐายี
ความว่า ตั้งอยู่โดยอาการที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม คือโดยอาการที่ถูกครองงำ.

อธิบายว่า กลืนรูปด้วยตัณหาและทิฏฐิให้เสร็จไปอย่างนี้ว่า เรา ว่า
ของเรา ชื่อว่าย่อมยึด.บทว่า ตสฺส ตํ รูปํ ได้แก่ รูปของเขานั้น คือที่ยึดไว้
อย่างนั้น แม้ในขันธ์มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า
ท่านกล่าว รูปล้วนๆนั่นแลว่าตน.อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว สิ่งที่ไม่มีรูปใน
ฐานะ 7 เหล่านี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีรูป หรือ รูปในตน หรือตนในรูป
1 เวทนา โดยเป็น ตน 1 ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตน
กล่าว ตน ที่ระคนปนกับรูปและอรูปในฐานะ 12 โดยขันธ์ 3 ใน
บรรดาขันธ์ 4 อย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นตนมีเวทนา หรือเวทนาในตน
หรือตนในเวทนา ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวอุจเฉททิฏฐิ ใน
ฐานะว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ โดยเป็นตน. ในทิฏฐิที่เหลือ สัสสตทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้
สรุปความว่า ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ภวทิฏฐิ 15 (วิภวทิฏฐิ 5) ย่อมเป็น
อย่างนี้ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์
อันโสดาปัตติมรรค พึงฆ่า.

บทว่า เอวํ โข คหปติ อาตุรกาโย เจว โหติ อาตุรจิตฺโต จ ความว่า
ขึ้นชื่อว่ากาย แม้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อมกระสับกระส่าย
เหมือนกัน ส่วนจิตซึ่งคล้อยตามราคะ โทสะ และโมหะ ก็ชื่อว่ากระสับ
กระส่าย จิตนั้นท่านแสดงไว้ในที่นี้แล้ว.
บทว่า น จ อาตุโร ความว่า ในที่นี้ท่านแสดงถึงความที่จิตสงัด
ไม่กระสับกระส่าย เพราะปราศจากกิเลส.
ดังนั้นในพระสูตรนี้พึงทราบว่า ท่านแสดงถึงโลกิยมหาชนว่า
มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย พระขีณาสพ พึง

ทราบว่า มีกายกระสับกระส่าย มีจิตไม่กระสับกระส่าย พระเสขะ
7 จำพวก มีกายกระสับกระส่าย มีจิตกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่
มีจิตไม่กระสับกระส่ายก็ไม่เชิง แต่เมื่อจะคบ ย่อมคบแต่ผู้ที่มีจิตไม่
กระสับกระส่ายเท่านั้นแล.
จบ อรรถกถานกุลปิตุสูตรที่ 1

2. เทวทหสูตร



ว่าด้วยการกำจัดฉันทราคะในขันธ์ 5



[6] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมเทวทหะของ
ศากยะทั้งหลายในสักกชนบท. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน
ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์
ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เพื่ออยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท.
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายลา
สารีบุตรแล้วหรือ.ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์
ยังมิได้ลาท่านพระสารีบุตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปลาสารีบุตรเถิด สารีบุตรเป็นบัณฑิต
อนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า.