เมนู

บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ อยู่อย่างสบาย ตลอดสี่เดือน โดยทำนองที่
เขาใส่ไว้ในฉางนั่นแล. บทว่า ปฐวี ได้แก่ แผ่นดินที่ตั้งอยู่ภายใต้
บทว่า อาโปได้แก่ น้ำที่กำหนดแต่เบื้องบน. บทว่า จตสฺโส วิญฺญาณฏฺฐิติโย
ความว่า ขันธ์ 4 มีรูปขันธ์ เป็นต้น อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมวิญญาณ
จริงอยู่ ขันธ์เหล่านั้นเสมือนกับปฐวีธาตุ เพราะเป็นธรรมชาติ ตั้งอยู่
ได้ด้วยอำนาจของอารมณ์ นันทิและราคะ เป็นเสมือนกับอาโปธาตุ
เพราะอรรถว่าเป็นใยยาง. บทว่า วิญฺญาณํ สาหารํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ
พร้อมด้วยปัจจัย, จริงอยู่ กรรมวิญญาณนั้น งอกขึ้นบนแผ่นดินคือ
อารมณ์ เหมือนพืชงอกขึ้นบนแผ่นดิน ฉะนั้น.
จบ อรรถกถาพีชสูตรที่ 2

3. อุทานสูตร



ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ



[108] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มี
แก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
[109] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุ
รูปหนึ่งได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร
พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำใน
สัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน 1 ย่อมเห็นตนมีรูป 1
ย่อมเห็นรูปในตน 1 ย่อมเห็นตนในรูป 1 ตามเห็นเวทนาโดยความ
เป็นต้น ฯลฯ ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสังขาร
โดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน 1 ย่อมเห็น
ตนมีวิญญาณ 1 ย่อมเห็นวิญญาณในตน 1 ย่อมเห็นตนในวิญญาณ 1
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง
ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัย
ปรุงแต่ง ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา
แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.
[110] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำดี
ในอริยธรรม ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการ
แนะนำดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน
ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็น
สัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน
ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ เธอย่อมทราบชัด
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า

ไม่เที่ยง ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์ ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา ย่อมทราบชัด
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความ
เป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี ย่อมทราบชัด
ตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุน้อมใจไป
อย่างนี้แลว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขาร
จักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ด้วยอาการอย่างนี้แล.
[111] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็น
อย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี
แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเรา
ก็จักไม่มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ฯลฯ ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเรา
ก็จักไม่มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่

พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่
เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ วิญญาณที่เข้าถึง
เวทนาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึง
สังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ
อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป
เวทนา สัญญา สังขาร ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน
สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความ
กำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอัน
ไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป
จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล อาสวะ
ทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.
จบ อุทานสูตรที่ 3

อรรถกถาอุทานสูตรที่ 3



ในอุทานสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทาน ซึ่งมีโสมนัส
มีกำลังแรงเป็นสมุฏฐาน. ถามว่า ก็โสมนัสนั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า