เมนู

บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ อยู่อย่างสบาย ตลอดสี่เดือน โดยทำนองที่
เขาใส่ไว้ในฉางนั่นแล. บทว่า ปฐวี ได้แก่ แผ่นดินที่ตั้งอยู่ภายใต้
บทว่า อาโปได้แก่ น้ำที่กำหนดแต่เบื้องบน. บทว่า จตสฺโส วิญฺญาณฏฺฐิติโย
ความว่า ขันธ์ 4 มีรูปขันธ์ เป็นต้น อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมวิญญาณ
จริงอยู่ ขันธ์เหล่านั้นเสมือนกับปฐวีธาตุ เพราะเป็นธรรมชาติ ตั้งอยู่
ได้ด้วยอำนาจของอารมณ์ นันทิและราคะ เป็นเสมือนกับอาโปธาตุ
เพราะอรรถว่าเป็นใยยาง. บทว่า วิญฺญาณํ สาหารํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ
พร้อมด้วยปัจจัย, จริงอยู่ กรรมวิญญาณนั้น งอกขึ้นบนแผ่นดินคือ
อารมณ์ เหมือนพืชงอกขึ้นบนแผ่นดิน ฉะนั้น.
จบ อรรถกถาพีชสูตรที่ 2

3. อุทานสูตร



ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ



[108] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มี
แก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
[109] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุ
รูปหนึ่งได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร
พระเจ้าข้า.