เมนู

นำมาเปรียบเทียบกับคุณที่มีอยู่ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ พระมหาโมค-
คัลลานเถระ บรรลุความสำเร็จในสมาธิลักษณะ พระสารีบุตรเถระ
บรรลุในวิปัสสนาลักษณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุทั้งสองลักษณะ.
จบอรรถกถาฆฏสูตรที่ 3

4. นวสูตร



ว่าด้วยเรื่องภิกษุใหม่



[696] ข้าพเจ้าได้สดับมายอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ สมัยนั้นแล ภิกษุใหม่
รูปหนึ่งเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวร
ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[697] ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว. ได้กราบทูลพระผู้-
มีพระภาคเจ้า
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระ
ธรรมวินัยนี้เดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตเข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ย่อมไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำ
จีวร ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกรูปหนึ่งมาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า พระศาสดาให้หา
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ครั้นแล้วได้

กล่าวกะเธอว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่าน เธอรับคำของภิกษุนั้นแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสกะเธอว่า จริงหรืออภิกษุ ได้ยินว่า เธอเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลา
ปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้วเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ไม่ช่วย
เหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำจีวร.
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็กระทำ
กิจส่วนตัวเหมือนกัน.
[698] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความ
ปริวิตกแห่งจิตของภิกษุนั้นด้วยพระทัย จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ายกโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้เป็นผู้มีปรกติได้ฌาน
4 อันเป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน อันอาศัยอธิจิต ตามความปรารถนา
ไม่ยาก ไม่ลำบาก กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[699] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-
ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อน ปรารภความ
เพียรด้วยกำลังน้อย ไม่พึงบรรลุพระนิพพานอันเป็น
เครื่องปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวงได้ แต่ภิกษุหนุ่มรูปนี้
เป็นอุดมบุรุษ ชำนะมารทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรง
ไว้ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้.

จบนวสูตรที่ 4

อรรถกถานวสูตรที่ 4



ในนวสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ ไม่มีความขวนขวาย. บทว่า สงฺกตายติ1
ได้แก่ อยู่. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ ได้แก่ กิจที่จะพึงทำในจีวร. บทว่า
อภิเจตสิกานํ ได้แก่ อาศัยอภิจิต คือจิตสูงสุด. บทว่า นิกามลาภี
ได้แก่ เป็นผู้ได้ตามปรารถนา เพราะเป็นผู้สามารถเข้าสมาบัติในขณะที่
ปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี ได้แก่ เป็นผู้ได้ไม่ยาก เพราะเป็น
ผู้สามารถข่มอันตรายของฌานเข้าสมาบัติได้โดยง่าย. บทว่า อกสิรลาภี
ได้แก่ เป็นผู้ได้อย่างไพบูลย์ . เพราะเป็นผู้สามารถออกได้ตามกำหนด
อธิบายว่า มีฌานคล่องแคล่ว. บทว่า สิถิลมารพฺภ ได้แก่ ใช้
ความเพียรย่อหย่อน.
จบอรรถกถานวสูตรที่ 3

5. สุชาตสูตร



ว่าด้วยเรื่องพระสุชาต



[700] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสุชาต
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ.
[701] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุชาตมา

1. ม. สงฺกสายติ.