เมนู

ในคำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ ประกอบความดังนี้ เพราะวิตกวิจารใน
ทุติยฌานดับ สฬายตนะย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ทุติยฌานนี้นั้น ท่านจึง
เรียกว่า อริโย ตุณฺหีภาโว การนิ่งอย่างอริยะ แต่ในคำว่า ธรรมีกถา
หรือดุษณีภาพอันประเสริฐนี้ การมนสิการกัมมัฏฐานก็ดี ปฐมฌานเป็น
ต้นก็ดี นับว่าเป็นดุษณียภาพอันประเสริฐทั้งนั้น.
บทว่า วิตกฺกสหคตา ได้แก่มีวิตกเป็นอารมณ์. บทว่า สญฺญา
มนสิการา
ได้แก่สัญญาและมนสิการ. บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ย่อม
เป็นไป. ได้ยินว่า ทุติยฌานของพระเถระยังไม่ช่ำชอง เมื่อเป็นเช่นนั้น
พอท่านออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว วิตกวิจารไม่ตั้งขึ้นโดยที่สงบไป.
ทุติยฌานก็ดี สัญญาและมนสิการก็ดีของพระเถระนั้น ได้เป็นไปในส่วน
แห่งความเสื่อมทั้งนั้น. เมื่อจะทรงแสดงทุติยฌานนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า สณฺฐเปหิ ได้แก่ตั้งอยู่โดยชอบ. บทว่า เอโกทิภาวํ กโรหิ
ได้แก่กระทำให้มีอารมณ์เดียว. บทว่า สมาทห ได้แก่ยกขึ้นตั้งไว้โดย
ชอบ. บทว่า มหาภิญฺญตฺตํ ได้แก่อภิญญา 6.
ได้ยินว่า พระศาสดาทรงขยายสมาธิที่เป็นไปในส่วนแห่งความ
เสื่อมของพระเถระตลอด 7 วัน โดยอุบายนี้ ให้พระเถระบรรลุอภิญญา 6.
จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ 1

2. อุปติสสสูตร



ว่าด้วยโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส



[688] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระ-
สารีบุตรแล้ว.