เมนู

ปสนฺนาการํ กโรนฺติ ความว่า กระทำอาการอันผู้เลื่อมใสจะพึงทำ คือ
ถวายปัจจัย 4. บทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ ความว่า เรียน 1-2 ชาดก
หรือพระสูตรแล้วแสดงธรรมด้วยเสียงอันไม่แตก. บทว่า ปสนฺนาการํ
กโรนฺติ
ความว่า เลื่อมใสในเทศนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วถวายปัจจัย
ของคฤหัสถ์. บทว่า เนว วณณาย โหติ น พลาย ความว่า
ไม่ใช่มีเพื่อสรรเสริญคุณ ไม่ใช่สรรเสริญญาณ และเมื่อคุณเสื่อมไป
วรรณะแห่งสรีระก็ดี กำลังแห่งสรีระก็ดี ย่อมเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังของสรีระ.
จบอรรถกถานาคสูตรที่ 9

10. วิฬารสูตร



ว่าด้วยภิกษุเปรียบด้วยแมว



[680] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง
เข้าไปเที่ยวในสกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มี
อายุ อย่าเข้าไปเที่ยวในสกุลกินเวลาเลย ภิกษุนั้นถูกพวกภิกษุว่ากล่าวอยู่
ย่อมไม่พอใจ ลำดับนั้น ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปเที่ยวในสกุลเกิน
เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปเที่ยว
ในสกุลเกินเวลาเลย ภิกษุนั้นถูกพวกภิกษุกล่าวอยู่ย่อมไม่พอใจ.

[681] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่อง
เคยมีมาแล้ว มีแมวได้ยืนคอยจับลูกหนูอยู่ในที่กองหยากเยื่อที่ทางระบาย
คูถโคในบ้าน ระหว่างที่ต่อเรือนสองหลัง ด้วยคิดว่า ลูกหนูจักไปหา
เหยื่อในที่ใด เราจักจับมันกินเสียในที่นั้น ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
ลูกหนูได้ออกไปหาเหยื่อ แมวจับลูกหนูนั้นแล้วรีบกัดกลืนลงไป ลูกหนู
นั้นกัดทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อยของแมวนั้น แมวนั้นย่อมเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ.
[682] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อ
บิณฑบาต มีกายวาจาและจิตอันไม่รักษาแล้ว มีสติไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว
มีอินทรีย์อันไม่สำรวมแล้ว เธอเห็นมาตุคามในบ้านหรือนิคมนั้น นุ่งห่ม
ผ้าลับ ๆ ล่อ ๆ ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคาม
นุ่งห่มผ้าลับ ๆ ล่อ ๆ เธอมีจิตอันราคะรบกวน ชื่อว่าย่อมเข้าถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตาย การที่เธอบอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหีนเพศนั้น ชื่อ
ว่าเป็นความตายในอริยวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอต้องอาบัติ
เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การปรากฏแห่งการออกจากอาบัติตามที่ต้อง
นั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์ปางตายทีเดียว เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีกายวาจาและจิตอันรักษาแล้ว มีสติเข้าไปตั้งไว้
แล้ว มีอินทรีย์อันรวมแล้ว เข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบวิฬารสูตรที่ 10

อรรถกถาวิฬารสูตรที่ 10



ในวิฬารสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สนฺธิ ในคำว่า สนฺธิสมลสงฺกติเร ได้แก่ที่ต่อแห่งเรือน
ทั้งสอง. บทว่า สมลา ได้แก่ทางเป็นที่ออกของคูถ จากบ้าน. บทว่า
สงฺกติเร ได้แก่ที่ทิ้งหยากเยื่อ. บทว่า มุทุมูสึ ได้แก่หนูอ่อน. บทว่า
วุฏฺฐานํ ปญฺญายติ ได้แก่การแสดงย่อมปรากฏ.

11. ปฐมสิคาลสูตร



ว่าด้วยเรื่องสุนัขจิ้งจอก



[683] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้ฟังเรื่องพระสุนัขจิ้งจอกผู้อยู่ใน
ปัจจุสสมัยแห่งราตรีแล้วมิใช่หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ฟังมาแล้ว พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกแก่นี้แล เป็นโรคเรื้อน มัน
อยากจะไปทางไหนก็ไปทางนั้น อยากจะยืนที่ไหน ๆ ก็ยืนที่นั่น อยาก
จะนั่งที่ไหนก็นั่งที่นั่น อยากจะนอกที่ไหนก็นอนที่นั่น ลมเย็น ๆ ย่อม
รำเพยให้มัน.
[684] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตร ได้เสวยการได้เฉพาะซึ่งอัตภาพแม้เห็นปานนี้
เป็นการดีนักหนา เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา