เมนู

ธนูทั้ง 4 ลูกแล้วบินมาเกราะที่เสาระเนียดนั่นเอง. พญาหงส์กราบทูลพระ-
ราชาว่า โปรดทรงเห็นเถิด มหาราช ความเร็วของหม่อมฉันเร็วอย่างนี้.
พึงทราบว่า ลูกธนูเหล่านั้นพระโพธิสัตว์นำมาในครั้งเสวยพระชาติเป็น
หงส์เร็ว ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ปุรโต ธาวนฺติ ความว่า แล่นไปก่อน ๆ แต่เทวดา
เหล่านั้นมิได้อยู่ข้างหน้าตลอดเวลาเลย บางคราวอยู่ข้างหน้า บางคราวอยู่
ข้างหลัง. จริงอยู่ ในวิมานพวกอากาสัฏฐกเทวดา มีทั้งอุทยานทั้งสระ-
โบกขรณี. เทวดาเหล่านั้นอาบเล่นกีฬาน้ำในที่นั้น อยู่ข้างหลังบ้าง
ไปด้วยกำลังเร็วล้ำหน้าไปอีกก็มี. บทว่า อายุสงฺขารา ท่านกล่าวหมาย
รูปชีวิตินทรีย์. จริงอยู่ รูปชีวิตินทรีย์นั้นสิ้นไปเร็วกว่าความเร็วของเทวดา
นั้น. แต่ใคร ๆ ไม่อาจจะรู้ทั่วถึงการแยกอรูปธรรมได้.
จบอรรถกถาธนุคคหสูตรที่ 6

7. อาณีตสูตร



ว่าด้วยการตอกลิ่ม



[672] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของ
พวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะ ได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวก
ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็
หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ

ในอนาคต เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถ
อันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน
ว่าควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนัก
ปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของ
ภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ
จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน
ควรศึกษา.
[673] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าว
แล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จัก
อันตรธาน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก
เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จัก
เงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น
ว่าควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบอาณีสูตรที่ 7

อรรถกถาอาณีสูตรที่ 7



ในอาณีสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทสารหานํ ได้แก่เหล่ากษัตริย์ผู้มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า
กษัตริย์เหล่านั้น ถือเอาสิบส่วนจากข้าวกล้า ฉะนั้นจึงปรากฏชื่อว่า ทสารหา