เมนู

เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง
นี้นั่นแหละ.
จบนขสิขสูตรที่ 2

อรรถกถานขสิขสูตรที่ 2



ในนขสิขสูตรที่ 2 มีวินิฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มนุสฺเสสุ ปจฺจาชายนฺติ มีอธิบายว่า เหล่าชนที่จุติจาก
มนุษยโลกแล้วเกิดในมนุษยโลกนั้นแล มีประมาณน้อย. บทว่า อญฺญตฺร
มนุสฺเสหิ
ความว่า เหล่าชนที่จุติจากมนุษยโลกแล้วไม่เกิดในมนุษยโลก
ไปเกิดเฉพาะในอบาย 4 มีมากกว่า เหมือนฝุ่นในมหาปฐพี. ก็ในพระ-
สูตรนี้ ท่านรวมเทวดากับมนุษย์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน. เพราะฉะนั้น พึง
ทราบว่า ผู้เกิดในเทวโลกมีประมาณน้อย เหมือนผู้ที่เกิดในมนุษยโลก
ฉะนั้น.
จบอรรถกถานขสิขสูตรที่ 2

3. กุลสูตร



ว่าด้วยอานิสงส์เมตตาเจโตวิมุตติ



[665] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลใดสกุลหนึ่งมีสตรีมาก
มีบุรุษน้อย สกุลเหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ขโมยด้วยหม้อปล้นได้ง่าย แม้

ฉันใด ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ไม่กระทำให้มากแล้ว
ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ง่าย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[666] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีน้อย
มีบุรุษมาก สกุลเหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ขโมยด้วยหม้อปล้นได้ยาก แม้
ฉันใด ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ การทำให้มากแล้ว ภิกษุ
รูปนั้นย่อมเป็นผู้อันอมนุษย์กำจัดได้ยาก เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำ
ให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสมปรารภด้วยดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบกุลสูตรที่ 3

อรรถกถากุลสูตรที่ 3



ในกุลสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุปฺปธํสิยานิ ได้แก่ ถูกพวกโจรเบียดเบียนได้ง่าย. บทว่า
กุมฺภตฺเถนเกหิ ความว่า ชื่อว่า กุมฺภตฺเถนกา ได้แก่ เหล่าโจรผู้เข้าเรือน
คนอื่น ตรวจดูด้วยแสงประทีป ประสงค์จะลักสิ่งของของคนอื่น จุด
ประทีปใส่หม้อเข้าไป สิ่งของเหล่านั้นอันโจรผู้ใช้หม้อเหล่านั้นขโมยได้ง่าย.
บทว่า อนนุสฺเสหิ ความว่า จริงอยู่ ปิศาจผู้เล่นฝุ่น ย่อมกำจัดผู้เว้น
เมตตาภาวนา จะป่วยกล่าวไปไยถึงพวกอมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่เล่า. บทว่า
ภาวิตา ได้แก่ ให้เจริญนั่นแล. บทว่า พหุลีกตา ได้แก่ กระทำบ่อย ๆ.
บทว่า ยานีกตา ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมแล้ว. บทว่า
วตฺถุกตา ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจพื้นที่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งอาศัย