เมนู

และท่านเหล่านั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ
ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า
ถึงอยู่.ื
จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4



ในทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระองค์ตรัสว่า อิเม ธมฺเม นปฺปชานนฺติ เป็นต้น ตาม
อัธยาศัยของบุคคลผู้ที่สามารถจะแทงตลอดเทศนาที่ตรัสให้เนิ่นช้ามีประมาณ
เท่านี้ ด้วยคำว่า อิเม กตเม ธมฺเม ดังนี้. คำที่เหลือก็เหมือน
ก่อนนั่นเอง.
จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4

5. กัจจานโคตตสูตร



ว่าด้วยพระกัจจานโคตต์ทูลถามสัมมาทิฏฐิ



[42] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระ
กัจจานโคตต์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมา-
ทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.
[43] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้

โดยมากอาศัยส่วน 2 อย่าง คือ ความมี1 1 ความไม่มี2 1 ก็เมื่อบุคคล
เห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีใน
โลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วย
อุบาย อุปาทาน และอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น
ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัยอันเป็น
ที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่าทุกข์
นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ พระ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.
[44] ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ 1 นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่
ส่วนสุดข้อที่ 2 นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง
ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ. . . ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับ ด้วยการสำรอก
โดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
จบกัจจานโคตตสูตรที่ 5

อรรถกถากัจจานโคตตสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในกัจจานโคตตสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้

1. สัสสตทิฏฐิ 2. อุจเฉททิฏฐิ