เมนู

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 6



ในสัญญาสูตรที่ 6 ทรงถือเอาธรรมที่เป็นในภูมิ 3.
จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ 6

7. เจตนาสูตร



ว่าด้วยรูปสัญเจตนาเป็นต้นไม่เที่ยง



[628] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา. . .
สัททสัญเจตนา. . . คันธสัญเจตนา. . . โผฏฐัพพสัญเจตนา. . . ธัมม-
สัญเจตนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบเจตนาสูตรที่ 7

8. ตัณหาสูตร



ว่าด้วยรูปตัณหาเป็นต้นไม่เที่ยง



[629] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถาบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา สัทท-
ตัณหา. . . คันธตัณหา. . . รสตัณหา. . . โผฏฐัพพตัณหา. . . ธัมม-
ตัณหา เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบตัณหาสูตรที่ 8

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ 8



แต่ในตัณหาสูตรที่ 8 จะได้ชื่อว่า ตัณหา ในเมื่อตกถึงชวนะ
ในทวารนั้น ๆ เท่านั้น.
จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ 8

9. ธาตุสูตร



ว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นต้นไม่เที่ยง



[630] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ. . . อาโป-
ธาตุ. . . เตโชธาตุ. . . วาโยธาตุ. . . อากาสธาตุ. . . วิญญาณธาตุ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบธาตุสูตรที่ 9

อรรถกถาธาตุสูตรที่ 9



ในธาตุสูตรที่ 9 ตรัสนามด้วยอำนาจวิญญาณธาตุ ตรัสรูปด้วย
ธาตุที่เหลือ เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันตรัสนามรูปไว้แล้ว.
จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ 9