เมนู

บทว่า สมฺปชานมุสา ภาสนตํ ความว่า กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่
ด้วยเหตุแม้เพียงเล็กน้อย. บทว่า สีลํ ปูเรสฺสามิ ความว่า กองปัจจัย
แม้ขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ ไม่สามารถทำให้ภิกษุผู้มีจิตส่งไปแล้วว่า เราจัก
ยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ หวั่นไหวได้. ก็คราวใดเธอละศีล อาศัยลาภ
และสักการะ ให้คราวนั้นเธอก็พูดเท็จ แม้เพราะมีรำข้าวกำหนึ่งเป็นเหตุ
หรือทำสิ่งอื่นที่ไม่ใช่กิจ.
จบอรรถกถาสุวัณณปาติสูตรที่ 1

2. รูปิยปาติสุตร



ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม



[562] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
[563] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้วย่อมรู้
บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะถาดเงินอันเต็มด้วยผงทองคำ
เป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภ
สักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ
อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบรูปิยปาติสูตรที่ 2

อรรถกถารูปิยปาติสูตร



รูปิยปาติสูตรที่ 2

ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถารูปิยปาติสูตร

3. สุวัณณนิกขสูตร



ว่าด้วยลาภสักการะ



[564] . . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว
ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะแท่งทองคำเป็นเหตุ. . .
จบสุวัณณนิกขสูตรที่ 3

อรรถกถาสุวัณณนิกขสูตรที่ 3 เป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในสุวัณณนิกขสูตรที่ 3 เป็นต้น.
บทว่า สุวณฺณนิกฺขสฺส คือแท่งทองแท่งหนึ่ง. บทว่า สิงฺคินิกฺขสฺส
คือแท่งทองสิงคี. บทว่า ปฐวิยา คือแผ่นดินใหญ่ภายในจักรวาล.
บทว่า อานิสกิญฺจิกฺขเหตุ ได้แก่เพราะเหตุแห่งอามิสเล็กน้อยเท่านั้น คือ
แม้โดยที่สุดรำข้าวกำหนึ่ง. บทว่า ชีวิตเหตุ ความว่าเมื่อถูกโจรในดง
จับปลงชีวิต เพราะเหตุแห่งชีวิตนั้น. บทว่า ชนปทกลฺยาณิยา คือหญิง
งามเลิศในชนบท.
จบอรรถกถาสุวัณณนิกขสูตรที่ 3 เป็นต้น