เมนู

ไม่รักษาวาจา. ผู้ตรึกกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่าไม่รักษาจิต. บทว่า
อนุปฏฺฐิตาย สติยา ได้แก่ ไม่ดำรงกายคตาสติไว้.
จบอรรถกถาเวรัมภสูตรที่ 9

10. สคัยหกสูตร



ว่าด้วยคนติดลาภสักการะตายไปตกอบายเป็นต้น



[557] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจาก
โยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
[558] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อัน
สักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้อง
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้
อันความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย
ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราเห็นคนบางตนในโลกนี้ อัน
สักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่างครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป
เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[559 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสคำไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
สมาธิของผู้ใด ที่เขาสักการะอยู่ด้วยผลสมาธิ
หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหว้ด้วยสักการะ และความ
เสื่อมสักการะ ผู้นั้นเพ่งอยู่ ทำความเพียรเป็นไป
ติดต่อ เห็นแจ้งด้วยทิฏฐิอย่างละเอียด ยินดีในพระ
นิพพานเป็นที่สิ้นอุปาทาน บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า
สัปปุรุษ ดังนี้.

จบสคัยหกสูตรที่ 10
จบปฐมวรรคที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. สุทธกสูตร 2. พฬิสสูตร 3. กุมมสูตร
4. ทีฆโลมสูตร 5. เอฬกสูตร 6. อสนิสูตร
7. ทิฏฐิสูตร 8. สิคาลสูตร 9. เวรัมภสูตร
10. สคัยหกสูตร

อรรถกถาสคัยหกสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในสคัยหกสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อสกฺการเน จูภยํ ได้แก่ อสักการะ 2 อย่าง. บทว่า
สมาธิ คืออรหัตผลสมาธิ. ก็สมาธินั้น ไม่หวั่นไหวด้วยอสักการะนั้น.
บทว่า อปฺปมาณวิหาริโน คืออยู่ด้วยผลสมาธิ หาประมาณมิได้. บทว่า
สาตติกํ คือทำติดต่อกัน. บทว่า สุขุมทิฏฺฐิวิปสฺสกํ ความว่า ชื่อ