เมนู

สังขารที่ให้อัตภาพนั้นเกิด ก็เหมือนเวลาที่เห็นโคนหาง. ก็ปัจจยวัฏไม่มา
ในบาลีในที่ใด ๆ ในที่นั้น ๆ อย่าถือว่า เทศนาไม่บริบูรณ์ พึงถือเอา
โดยนัยว่า บริบูรณ์ทีเดียว เปรียบเหมือนบุรุษนั้น เมื่อมองดูใต้ท้อง
แม้จะไม่เห็นปลายหาง และเท้าทั้ง 4 ก็ไม่ถือว่า จระเข้มีอวัยวะไม่บริบูรณ์
แต่ถือโดยนัยว่า บริบูรณ์ฉะนั้น. ก็ในข้อนั้น ทรงแสดงวัฏฏะมีสนธิ
สังเขป 3 ประการ คือ ระหว่างอาหารและตัณหา จัดเป็นสนธิหนึ่ง
ระหว่างตัณหาและเจตนา จัดเป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างวิญญาณและสังขาร
จัดเป็นสนธิหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาอาหารสูตรที่ 1

2. ผัคคุนสูตร



ว่าด้วยพระผัคคุนะทูลถามเรื่องอาหาร



[31] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร 4 เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของ
หมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร
4 เป็นไฉน. [ 1 ] กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด [ 2 ] ผัสสาหาร
[ 3 ] มโนสัญเจตนาหาร [ 4 ] วิญญาณาหาร อาหาร เหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์
[32] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระโมลิย-
ผัคคุนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ

ย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก
เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณาหาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน
[วิญญาณาหาร] ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ
ย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเรา
ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมี
เพื่ออะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า
วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหาร
นั้นเกิดมีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.
[33] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง.
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่า
ย่อมถูกต้อง ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ
ย่อมถูกต้อง แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น
อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้
ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.
[34] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์.
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรา
กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า
ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้
กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ
จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.

[35] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน.
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้า
เรากล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระ
พุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใด
ถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็น
ปัจจัยหนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างใน
ปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย จึงมีอุปาทาน.
[36] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น.
ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า
ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า
เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควร
ชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ. . . ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนั้น.
[37] ดูก่อนผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง 6 ดับด้วยการ
สำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะ
เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา-
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบผัคคุนสูตรที่ 2

อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ 2



ใน

ผัคคุนสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้เทศนาจบลงในที่นี้นั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะผู้มีทิฏฐินั่งอยู่
แล้ว. จริงอยู่ พระโมลิยผัคคุนภิกษุ ซึ่งมีทิฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้นแล้ว
ต่อนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า โมลิยผัคคุนภิกษุนี้ จักลุกขึ้นถามปัญหา
เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแก้ปัญหาให้เธอ แล้วให้เทศนาจบลง
เพื่อให้โอกาสเธอได้ถาม. มวยผม ท่านเรียกว่า โมลี ในคำว่า
โมลิยผคฺคุโน นี้. สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
พระสักยมุนี ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วยน้ำหอม
อย่างดี แล้วทรงเหวี่ยงไปในอากาศ ท้าววาสวะผู้
สหัสสเนตรที่เอาผอบทองคำอย่างประเสริฐ รับไว้ด้วย
เศียรเกล้า.

ในสมัยที่ท่านเป็นคฤหันถ์ เมาลี (มวยผม) ของท่านใหญ่มาก
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเกิดมีชื่อเรียกว่า โมลิยผัคคุนะ. แม้ท่านจะบวช
แล้ว คนก็ยังรู้จักตามชื่อนั้นนั่นแหละ. บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ ท่าน
เมื่อจะสืบต่อเทศนานุสนธิ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอนำวิญญาณาหารมา. พึงทราบเนื้อความแห่ง
คำนั้นดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่กินหรือบริโภควิญญาณา-
หารนั้นคือใคร.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระโมลิยะนี้จึงไม่ถามถึงอาหาร 3
นอกจากนี้ ถามแต่เพียงวิญญาณาหารนี้อย่างเดียว.


.