เมนู

ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทที่พึงกล่าวทั้งหมดนั้น ให้พิสดารในวิสุทธิ-
มรรค พร้อมด้วยพรรณนาตามลำดับบท และวิธีภาวนา. บทว่า
อาสวานํ ขยา ได้แก่ เพราะอาสวะสิ้นไป. บทว่า อนาสวํ ได้แก่
ไม่เป็นปัจจัยของอาสวะ. บทว่า โจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาธิในอรหัตผล.
บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.
จบอรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ 9

10. ภิกขุนูปัสสยสูตร



ว่าด้วยพระอานนท์นิมนต์พระมหากัสสปไปสำนักภิกษุณี



[512] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์
นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหา
แล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่าน
ไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปจึงกล่าวว่า ท่าน
ไปเถิดอานนท์ผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่ 2
ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์
ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปก็กล่าวว่า
ท่านไปเถิดอานนท์ผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่ 3
ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์
ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด.

[513] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปนุ่งแล้วถือบาตร
และจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังที่พำนักของภิกษุณี
ครั้นเข้าไปแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้งนั้นภิกษุณีเป็นอันมาก
พากันเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่พัก ครั้นเข้าไปแล้วจึงกราบท่าน
พระมหากัสสป แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น
นั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสป ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล ท่าน
พระมหากัสสปครั้นยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.
[514] ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ จึงเปล่งคำ
แสดงความไม่พอใจว่า เพราะเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปจึง
สำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนี
เปรื่องปราชญ์ เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่าควรขายเข็มในสำนักของ
ช่างเข็มผู้ชำนาญ ฉันใด พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปย่อมสำคัญธรรมที่ตน
ควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านพระมหากัสสปได้ยินภิกษุณีถุลลติสสากล่าววาจานี้แล้ว
จึงกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ผู้มีอายุ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่าน
เป็นช่างเข็ม หรือเราเป็นช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านพระอานนท์
จึงตอบว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ ขอท่านโปรดประทานโทษ
เถิด มาตุคามเป็นคนโง่.
[515] งดไว้ก่อนอานนท์ผู้มีอายุ หมู่ของท่านอย่าเข้าไปสอดเห็น
ให้เกินไปนัก ดูก่อนอานนท์ผู้มีอายุ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า
บ้างหรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-
ธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
อยู่ได้เท่าใด แม้อานนท์ก็หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้ว
ข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่านั้น
เหมือนกัน.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ.
ก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมณาน ฯ ล ฯ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 และอภิญญา 5 มีเปยยาลอย่างนี้]

[516] อานนท์อาวุโส ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่าน
ถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง
หรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม
เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐิธรรม
เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน.
อา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ.

ดูก่อนผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน.
[517] ดูก่อนผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดได้ด้วย
อภิญญา 6 ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง 7 ศอกหรือ 7 ศอกครึ่งว่า จะพึง
ปกปิดด้วยใบตาลได้.
ก็แลภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว.
จบภิกขุปัสสยสูตรที่ 10

อรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อายาม ภนฺเต ความว่า ถามว่า ท่านพระอานนท์ ย่อม
วิงวอนการไปสู่ที่พักภิกษุณี เพราะเหตุไร. ตอบว่า ไม่ใช่เพราะเหตุลาภ
และสักการะ. ย่อมวิงวอนว่า ก็ในที่พักภิกษุณีนี้ พวกภิกษุณีที่ต้องการ
กัมมัฏฐานมีอยู่. ก็เราจักยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เกิดความขวนขวายแล้ว พึง
ให้บอกกัมมัฏฐาน ดังนี้ . ถามว่า พระเถระนั้น ตนเองก็ทรงพระไตรปิฎก
เป็นพหูสูต มิใช่หรือ ไม่สามารถจะบอกเองหรือ. ตอบว่า ไม่สามารถ
ก็หามิได้. แต่ย่อมวิงวอนว่า พวกภิกษุณีจักสำคัญธรรมของพระสาวก
ผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้าอันตนพึงเชื่ออย่างไร. บทว่า พหุกิจฺโจ