เมนู

พรหมจรรย์ถูกอุปัทวะนั้นเบียดเบียน. บทว่า อภิวานา คือ ปรารถนา
เกินประมาณ. บทว่า พฺรหฺมจาราภิวาเนน ความว่า โดยความเป็นปัจจัย 4
กล่าวคือความปรารถนาเกินประมาณของพวกผู้ประพฤติพรหมจรรย์.
จบอรรถกถาโอวาทสูตรที่ 8

8. ฌานาภิญญาสูตร



ว่าด้วยการปฏิบัติตนให้เข้าถึงฌาน



[497] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวัง
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.
[498] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ได้เท่าใด แม้
กัสสปก็หวังเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.
[499] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่
เป็นสุขได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้
เท่านั้นเหมือนกัน.
[500] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงจตุตถ-
ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.
[501] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากาสนัญจายตนะ
มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่
ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวัง
เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูป
สัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.
[502] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ
มีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดย
ประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มี
อารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจาตนะได้โดย
ประการทั้งปวงอยู่ ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[503 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากิญจัญายตนะ
มีอารมณ์ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า
หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้
เท่านั้นเหมือนกัน.
[504] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด
แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญาตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.
[505] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้
กัสสปก็หวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.
[506] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ
คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้
ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่
ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ
พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้
เหมือนกัน คือกัสสปบรรลุวิธีหลายประการ ฯ ล ฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.

[507] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราได้ยินเสียง 2
ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลทั้งที่อยู่ใกล้ได้อย่างใด
แมักัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลทั้งที่อยู่ใกล้.
[508] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราย่อมกำหนดรู้ใจ
ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือ
จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมี
โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่า
จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็น
มหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตที่ยังมีจิตอื่น
ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตที่ยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตที่ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตที่ไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต
ไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็
รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้นได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือ
กัสสปย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯ ล ฯ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.
[509] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราตามระลึกชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก คือตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ
บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ

บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้าง ตลอด
สังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้างว่า ในภพโน้น. เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไป
เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ย่อม
ตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือ
กัสสปตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือตามระลึกได้หนึ่งชาติ
บ้าง ฯ ล ฯ ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
[510] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้
กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจี-
ทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ
ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่
ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอยู่ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
[511] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.
จบฌานาภิญญาสูตรที่ 9

อรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในณานาภิญญาสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ยาวเทว อากงฺขามิ ได้แก่ เท่าที่เราปรารถนา. ส่วน
ต่อแต่นี้ เรากล่าวรูปาวจรฌาน 4 โดยนัยเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ
ดังนี้. อรูปสมบัติ 4 โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ
สมติกฺกมา
ดังนี้. นิโรธสมาบัติอย่างนี้ว่า สพฺพโส เนวสญฺญา-
นาสญฺญายตนํ สมติกฺกมฺม สญฺญาเวทยิตนิโรธํ
ดังนี้. และกล่าว
อภิญญาเป็นโลกีย์ 5 โดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธํ ดังนี้.