เมนู

ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสป
ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคล
มีหิริ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีความ
เพียร ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญา ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่
มักโกรธ ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม
โทรม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ดังนี้.
จบทุติยโอวาทสูตรที่ 7

อรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ 7



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโอวาทสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธาที่มั่นคง. บทว่า วิริยํ ได้แก่
ความเพียรทางกายเเละทางจิต. บทว่า ปญฺญา ได้แก่ ปัญญรู้กุศลธรรม.
บทว่า น สนฺติ ภิกฺขู โอวาทกา ท่านพระกัสสปแสดงว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ คำนี้ว่า บุคคลนี้ไม่มี ภิกษุผู้โอวาท พร่ำสอน กัลยาณมิตร
ดังนี้ เป็นความเสื่อม.
จบอรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ 7

8. ตติยโอวาทสูตร



ว่าด้วยการให้โอวาท



[494] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมี-
กถาแก่ภิกษุทั้งหลาย กัสสป เราหรือเธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เรา
หรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ท่านพระมหากัสสปได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ
ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ.
[495] พ. ดูก่อนกัสสป ก็เป็นความจริงอย่างนั้น ครั้งก่อน
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผุ้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรง
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรร-
เสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรร-
เสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าว
สรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียร บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใด
เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็น

วัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวร
เป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด
จากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่
คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ
ปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย
คำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการศึกษา
แท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ดูก่อนกัสสป เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ ๆ พากันคิดเห็นว่า ทราบว่า
ภิกษุรูปที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้ชอบสงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลี
ด้วยหมู่... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภ
ความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิด
ภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิดท่าน
นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ภิกษุใหม่ ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็น
อย่างนั้น การปฏิบัติตามของพวกเธอนั้น เป็นการอำนวยประโยชน์
สุขชั่วกาลนาน.
[496] ดูก่อนกัสสป ก็บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็น

ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เป็นผู้
ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผู้
บังสุกุลเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย
และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่เป็นผู้
สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจาก
หมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่เป็นผู้ไม่คลุกคลี
ด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่เป็นผู้
ปรารภความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอ
ให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อ
เพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง
ดูก่อนกัสสป เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ ๆ
พากันคิดว่า ทราบว่า ภิกษุที่มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระพากันนิมนต์
เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ
ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่าน
นั่ง ภิกษุใหม่ ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น การปฏิบัติตาม
ของพวกเธอนั้น ไม่อำนวยประโยชน์ มีแต่ทุกข์ชั่วกาลนาน ดูก่อนกัสสป

บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูก
อันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมี
ความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาเกินประมาณสำหรับ
พรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว ดูก่อนกัสสป บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียน
เสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ
ปรารถนาเกินประมาณสำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว.
จบตติยโอวาทสูตรที่ 8

อรรถกถาตติยโอวาทสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในตติยโอวาทสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตถา หิ ปน เป็นนิบาต ลงในเหตุเป็นที่ตั้ง เพราะตั้ง
ก่อนเป็นผู้ว่าง่าย และบัดนี้เป็นผู้ว่ายาก. ตตฺร ได้แก่ ในพระนคร
เหล่านั้น. บทว่า โก นามายํ ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนี้ชื่ออะไร ชื่อติสสเถระ
หรือนาคเถระ บทว่า ตตฺร เมื่อสักการะนั้น อันเขาทำอยู่อย่างนี้. บทว่า
ตถตฺตาย ความว่า เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือเพื่อความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นต้น. บทว่า สพฺรหฺมจาริกาโม ความว่า ชื่อว่าผู้ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารี
ในอรรถว่า ใคร่ ปรารถนา ต้องการอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงแวดล้อม
เราเที่ยวไป ดังนี้. บทว่า ตถตฺตาย ได้แก่ เพื่อเป็นเหตุให้ลาภสักการะ
เกิด. บทว่า พฺรหฺมจารูปทฺทเวน ความว่า ผู้ใดมีฉันทราคะเกินประมาณ
ในปัจจัย 4 ของเพื่อนสพรหมจารี ท่านเรียกว่า เป็นอุปัทวะ.