เมนู

เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลาย
ให้สิ่งเศร้าหมอง ไม่ให้สิ่งประณีต กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่
ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้ช้า ไม่ให้โดยเร็ว
กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปไม่อึดอัดเพราะ
ข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย
เราจักกล่าวสอนพวกเธอให้ตามกัสสป หรือผู้ใดจะพึงเป็นเช่นกัสสป
เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น พวกเธอเมื่อได้รับโอวาทแล้ว
พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.
จบกุลูปกสูตรที่ 4

อรรถกถากุลูปกสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในกุลูปกสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กุลูปโก ได้แก่ เข้าไปยังเรือนของตระกูล. บทว่า เทนฺตุเยว
เม
ได้แก่ จงให้แก่เราเท่านั้น. บทว่า สนฺทิยติ ได้แก่ อึดอัด บีบ
คั้นอยู่. คำที่เหลือในข้อนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถากุลูปกสูตรที่ 4

5. ชิณณสูตร



ว่าด้วยภิกษุผู้ชรากับการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล



[478] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯ ล ฯ
กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[479] เมื่อพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสดังนี้ว่า กัสสป บัดนี้เธอชราแล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอ
หนัก ไม่น่านุ่งห่ม เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงคฤหบดีจีวร จงบริโภค
โภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ในสำนักของเราเถิด.
ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลา
นานมาแล้ว ข้าพระองค์ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรร-
เสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรง
ไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความมักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
เป็นผู้มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ
เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลี เป็นผู้
ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ดังนี้.
[480] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัสสป ก็เธอ
เล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรร-
เสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน.
[เปยยาลอย่างเดียวกัน]

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร. . . เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
. . . เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร . . . เป็นผู้มักน้อย . . . เป็นผู้สันโดษ. . .
เป็นผู้สงัดจากหมู่ . . . เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่. . . เป็นผู้ปรารภความ
เพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ดังนี้.
[481] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประ-
โยชน์ 2 ประการ จึงอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
เป็นผู่อยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน ฯ ล ฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร. . .
ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . . ทรงไตรจีวรเป็นวัตร. . . มีความปรารถนา
น้อย. . . เป็นผู้สันโดษ. . . เป็นผู้สงัดจากหมู่. . . เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความปรารภความ
เพียร เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และอนุเคราะห์ประชุมชนใน
ภายหลังว่า ทำไฉน ประชุมชนในภายหลังพึงถึงทิฏฐานุคติว่า ได้ยิน
ว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ที่ได้มีมาแล้ว
ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความอยู่ป่าเป็นวัตร
สิ้นกาลนาน ฯ ล ฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร. . . ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . .
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร. . . เป็นผู้มักน้อย. . . เป็นผู้สันโดษ. . . เป็นผู้
สงัดจากหมู่. . . เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ . . . เป็นผู้ปรารภความเพียร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรมาแล้ว สิ้นกาลนาน
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการเหล่านี้ จึงอยู่
ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นอยู่ป่าเป็นวัตร. . . เที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร. . . ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . . ทรงไตรจีวรเป็นวัตร
. . . มีความปรารถนาน้อย. . . เป็นผู้สันโดษ. . . เป็นผู้สงัดจากหมู่ . . .
เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่. . . ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการปรารภความเพียรสิ้นกาลนาน.
[482] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ กัสสป ได้ยินว่า
เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนกัสสป เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงผ้าบังสุกุล
อันไม่น่านุ่งห่ม จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด ฉะนี้.
จบชิณณสูตรที่ 5

อรรถกถาชิณณสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในชิณณสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ พระเถระแก่. บทว่า ครุกานิ ความว่า
ผ้าป่านเป็นผ้าหลายชั้น เป็นของหนักด้วยเย็บด้วยด้ายและด้วยผ้าดามในที่
ที่ชำรุด ๆ จำเดิมแต่เวลาที่ท่านได้ผ้านั้น จากสำนักของพระศาสดา. บทว่า
นิพฺพสนานิ ความว่า ได้ชื่อว่าอย่างนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
นุ่งมาก่อนแล้วเลิกไป. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเธอชราและทรงผ้า
บังสุกุลหนัก. บทว่า คหปตานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจง
เลิกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทรงจีวรอันคฤหบดีถวายเถิด. บทว่า
นิมนฺตนานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกองค์ผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นบัตร บริโภคภัตรที่เขานิมนต์มีสลากภัตรเป็นต้น. บทว่า มม สนฺติเก