เมนู

2. อโนตตาปีสูตร



ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว



[464] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปเเละท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออก
จากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้า
ไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[465] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหา-
กัสสป ดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควร
เพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่าง
ยอดเยี่ยม ส่วนผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้
ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดูก่อนผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึง
จักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็น
ผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

[466] ท่านพระมหากัสสปกล่าวว่า ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมลามกที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เราจะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำ
ความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว
เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียร
เครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา
จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส
โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความ
เสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มี
ความเพียรเครื่องเผากิเลส.
[467] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว
อย่างไร.
ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ
ความเสียประโยชน์ สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมที่ลามกที่เกิด
ขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์
ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ
ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว ผู้มีอายุ
ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความ
สะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควร

เพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.
[486] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
อย่างไร.
ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดย
คิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะ
พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความ
เสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วย
อาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.
[469] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร.
ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ
ความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์
ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ
ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว ผู้มีอายุ
ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความ

สะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อ
บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้.
จบอโนตตาปิสูตรที่ 2

อรรถกถาอโนตตาปีสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในอโนตตาปีสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อนาตาปี ความว่า เว้นจากความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส.
บทว่า อโนตฺตาปี ความว่า ไม่กลัว คือเว้นความกลัวแต่ความเกิดแห่ง
กิเลส และความไม่เกิดแห่งกุศล. บทว่า สมฺโพธาย คือเพื่อความ
ตรัสรู้. บทว่า นิพฺพานาย คือเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง. อนุตฺตรสฺส
โยคกฺเขมสฺส
คืออรหัต. ก็อรหัตนั้น ยอดเยี่ยมและเกษมจากโยคะ 4.
ในบทเป็นต้นว่า อนุปฺปนฺนา ความว่า อกุศลบาปธรรมมีโลภะ
เป็นต้นเหล่าใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น อันตนยังไม่
เคยได้วัตถุเป็นที่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริก และ
อันเตวาสิกทั้งหลายแล้ว ถือเอาสิ่งนั้นด้วยเข้าใจว่างาม เป็นสุข ดังนี้
โดยไม่แยบคาย ก็หรือรำพึงถึงอารมณ์อันไม่เคยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดย
ไม่แยบคายตามมีตามเกิด. อกุศลบาปธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ยังไม่
เกิดขึ้น ดังนี้.
บาปธรรม ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้นในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคล
รู้ไม่ได้ ย่อมไม่มีโดยประการอื่น. อนึ่ง อกุศลธรรมยังไม่เกิดขึ้นแก่
ภิกษุ ในเพราะอารมณ์อันเป็นวัตถุ อันเคยมีมา หรือด้วยความบริสุทธิ์