เมนู

สอนพวกเธอตามอย่างกัสสป ก็หรือผู้ใดพึงเป็นผู้เช่นกัสสป และพวกเธอ
เมื่อได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.
จบสันตุฏฐสูตรที่ 1

กัสสปสังยุต



อรรถกถาสันตุฏฐสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในสันตุฏสูตรที่ 1 แห่งกัสสปสังยุต.
บทว่า สนฺตุฏฺฐายํ ได้แก่ กัสสปะนี้ เป็นผู้สันโดษ. บทว่า
อิตริตเรน จีวเรน ได้แก่ ด้วยจีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง เเห่งจีวรเนื้อหยาบ
ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต ทน ชำรุด. มีอธิบายว่า สันโดษด้วย
จีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามที่ได้แล้วเป็นต้น. ก็ความสันโดษในจีวรมี
3 อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ 1 ยถาพลสันโดษ 1 ยถาสารุปปสันโดษ 1.
ถึงความสันโดษในบิณฑบาตเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
การพรรณนาประเภทแห่งสันโดษเหล่านั้น ดังต่อไปนี้. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เธอใช้จีวรนั้นอย่างเดียว ไม่
ปรารถนาจีวรอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวร
ของเธอ.
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุเป็นผู้ทุรพลตามปกติบ้าง ถูกอาพาธ
ครอบงำบ้าง เมื่อห่มจีวรหนักย่อมลำบาก. เธอเปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุ
ผู้ชอบพอกัน ใช้จีวรเบา ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ
ในจีวรของเธอ.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ปัจจัยที่ประณีต. บรรดาบาตร
และจีวรเป็นต้น เธอได้จีวรมีค่ามากอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้จีวร

เป็นต้น เป็นอันมาก ถวายด้วยคิดว่า สิ่งนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน
สิ่งนี้สมควรแก่ภิกษุผู้พหูสูต สิ่งนี้สมควรแก่ภิกษุผู้อาพาธ สิ่งนี้จงมีแก่
ภิกษุมีลาภน้อย ดังนี้ แล้วเก็บจีวรเก่าของภิกษุเหล่านั้น ก็หรือเก็บผ้าที่
เปื้อนจากกองหยากเยื่อเป็นต้น เอาผ้าเหล่านั้นทำสังฆาฏิใช้ ก็ชื่อว่า
เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในจีวรของเธอ.
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้บิณฑบาตเศร้าหมองบ้าง ประณีตบ้าง.
เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาบิณฑบาต
อื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.
ส่วนภิกษุใด ได้บิณฑบาตผิดธรรมดา หรือแสดงต่อความเจ็บไข้ของตน.
ภิกษุนั้น ฉันบิณฑบาตนั้นไม่มีความผาสุก. เธอถวายบิณฑบาตนั้นแก่
ภิกษุผู้ชอบพอกันเสีย ฉันโภชนะเป็นที่สบายจากมือของภิกษุนั้น ทำ
สมณธรรม ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยลาพลสันโดษในบิณฑ-
บาตของเธอ.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตที่ประณีตเป็นอันมาก. เธอ
ถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และผู้อาพาธ เหมือนถวาย
จีวรนั้น ฉันอาหารที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น หรืออาหารที่เที่ยวบิณฑบาต
แล้วสำรวม. ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษใน
บิณฑบาตของเธอ.

ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เสนาสนะ น่าชอบใจบ้าง ไม่น่าชอบใจ
บ้าง. เธอเกิดความพอใจ ไม่เสียใจด้วยเสนาสนะนั้นแล ยินดีตามที่ได้
โดยที่สุดแม้ลาดด้วยหญ้า. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของเธอ.
ส่วนภิกษุใดได้เสนาสนะที่ผิด หรือไม่ถูกกับความเจ็บไข้ของตน เมื่อเธอ
อยู่ก็ไม่มีความผาสุก. ภิกษุนั้น ถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน

แล้ว ก็อยู่ในเสนาสนะเป็นที่สบาย อันเป็นของภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าเป็น
ผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยลาพลสันโดษในเสนาสนะของเธอ.
อีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะที่ประณีตเป็นอันมากมีถ้ำมณฑป
และเรือนยอดเป็นต้น. เธอถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย
และผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรเป็นต้นเหล่านั้น จึงอยู่ในที่แห่งใดแห่ง
หนึ่ง ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปสันโดษในเสนาสนะ
ของเธอ.
แม้ภิกษุสำเหนียกว่า ชื่อว่า เสนาสนะที่อยู่สบายมาก เป็นที่
ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั่งในเสนาสนะนั้น ถิ่นมิทธะครอบงำ อกุศล
วิตกย่อมปรากฏแก่เธอผู้ตื่นขึ้น ถูกความหลับครอบงำแล้ว ไม่รับเสนาสนะ
เช่นนั้นแม้ถึงแก่ตน. เธอห้ามเสนาสนะนั้นแล้ว อยู่ในกลางแจ้งและ
โคนต้นไม้เป็นต้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. แม้นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-
สันโดษในเสนาสนะ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชเศร้าหมองบ้าง ประณีตบ้าง.
เธอก็ยินดีด้วยเภสัชซึ่งตนได้เท่านั้น ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น ถึงจะได้ก็ไม่
รับ. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. ส่วนภิกษุต้อง
การน้ำมันได้น้ำอ้อย. เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้ว รับ
น้ำมันจากมือของภิกษุนั้น หรือแสวงหาน้ำมันอื่นมาทำเภสัช ก็ชื่อว่า
เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. อีก
รูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชที่ประณีตมีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นอันมาก
เป็นต้น. เธอถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และอาพาธ
เหมือนถวายจีวร ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่งอันตน
นำมาสำหรับภิกษุเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. ส่วนภิกษุที่วางสมอ

ดองด้วยน้ำมูตรไว้ในภาชนะหนึ่ง วางของหวาน 4 อย่างไว้ในภาชนะหนึ่ง
เมื่อเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงถือเอาตามที่ปรารถนาเถิด หากโรค
ของเขาระงับได้ด้วยเภสัชเหล่านั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น
จึงห้ามของหวาน 4 อย่าง ด้วยคิดว่า ชื่อว่าสมอดองน้ำมูตร พระพุทธ-
เจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญ ดังนี้ แล้วทำเภสัชด้วยสมอดองน้ำมูตร
ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย
ของเธอ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายถึงสันโดษ 3 เหล่านี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ คือเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรตามที่ได้เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า วณฺณวาที ความว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้สันโดษ แต่ไม่
กล่าวคุณแห่งความสันโดษ อีกรูปหนึ่งไม่เป็นผู้สันโดษ แต่กล่าวคุณ
แห่งความสันโดษ. อีกรูปหนึ่ง ทั้งไม่เป็นผู้สันโดษ ทั้งไม่กล่าวคุณแห่ง
ความสันโดษ. อีกรูปหนึ่ง ทั้งเป็นผู้สันโดษ ทั้งกล่าวคุณแห่งความ
สันโดษ. เพื่อทรงแสดงว่า กัสสปะนี้เป็นผู้เช่นนั้น ดังนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
จึงตรัสว่า กัสสปะเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษ ด้วย
จีวรตามมีตามได้ ดังนี้.
บทว่า อเนสนํ ได้แก่ ไม่แสวงหามีประการต่าง ๆ มีประเภท
คือความเป็นทูตส่งข่าว และรับใช้. บทว่า อลทฺธา แปลว่า ไม่ได้.
อธิบายว่า ภิกษุบางรูปคิดว่า เราจักได้จีวรอย่างไรหนอแล รวมเป็น
พวกเดียวกับพวกภิกษุผู้มีบุญ ทำการหลอกลวงอยู่ ย่อมสะดุ้ง หวาด
เสียวฉันใด. ภิกษุนี้ ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้งฉันนั้น. บทว่า ลทฺธา จ
ได้แก่ ได้แล้วโดยธรรม. บทว่า อคธิโต ได้แก่ ไม่ติดในความโลภ.

บทว่า อมุจฺฉิโต ได้แก่ ไม่ถึงความสยบ ด้วยตัณหามีประมาณยิ่ง.
บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ความว่า อันตัณหาท่วมทับไม่ได้ คือโอบรัดไม่
ได้. บทว่า อาทีนวทสฺสาวี ความว่า เห็นโทษอยู่ในอเนสนาบัติและ
ในการติดการบริโภค. บทว่า นิสฺสรณปญฺโญ ท่านกล่าวว่า เพียงเพื่อ
กำจัดความหนาว. มีอธิบายว่า รู้การสลัดออก จึงใช้สอย. แม้ในบทเป็น
ต้นว่า อิตริตรปิณฺฑปาเตน พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ด้วยบิณฑบาต
เสนาสนะ. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้เป็นต้น.
ในบทว่า กสฺสเปน วา หิ โว ภิกฺขเว โอวทิสฺสาม นี้ เหมือน
พระมหากัสสปเถระ สันโดษด้วยความสันโดษ 3 ในปัจจัย 4. ภิกษุ
เมื่อกล่าวสอนว่า แม้ท่านทั้งหลาย จงเป็นอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวสอนตาม
กัสสป. แม้ในบทว่า โย วา ปนสฺส กสฺสปาทิโส นี้ ก็หรือภิกษุใด
เช่นกัสสปพึงเป็นผู้สันโดษ ด้วยความสันโดษ 3 ในปัจจัย 4 เหมือน
พระมหากัสสปเถระ. เมื่อกล่าวสอนว่า แม้ท่านทั้งหลาย จงมีรูปอย่างนั้น
ชื่อว่าย่อมสอนเช่นกับกัสสป. บทว่า ตถตฺตาย ปฏิปชฺชิตพฺพํ
ความว่า ชื่อว่าการการกล่าวด้วยความประพฤติ และการปฏิบัติขัดเกลา
ตามที่กล่าวไว้ในสันตุฏฐิสูตรนี้ เป็นภาระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. แต่
การบำเพ็ญทำข้อปฏิบัตินี้ให้บริบรูณ์เป็นภาระของพวกเราเหมือนกัน. เธอ
คิดว่า ก็แล เราควรถือเอาภาระอันมาถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็น
อย่างนั้น ตามที่เรากล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสันตุฏฐสูตรที่ 1

2. อโนตตาปีสูตร



ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว



[464] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปเเละท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออก
จากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้า
ไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[465] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหา-
กัสสป ดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควร
เพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่าง
ยอดเยี่ยม ส่วนผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้
ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดูก่อนผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึง
จักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็น
ผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.