เมนู

9. ทัณฑสูตร



ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายเหมือนท่อนไม้



[438] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น
ที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น
ย่อมไม่ปรากฏ ฯ ล ฯ
[439] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ
บางคราวก็ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลง
ทางปลาย แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นแล บางคราวก็จากโลก
นี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อ
จะหลุดพ้น ดังนี้.
จบทัณฑสูตรที่ 9

อรรถกถาทัณฑสูตรที่ 9



ส่วนในทัณฑสูตรที่ 9 คำจะต้องกล่าวไม่มี.
จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ 9

10. ปุคคลสูตร



ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้



เหมือนโครงกระดูกบุคคล



[440] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.
[441] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่อง
เที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก
ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้
และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะ
หลุดพ้น ดังนี้.
[442] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็น
กองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่