เมนู

อรรถกถาหีนาธิมุตติสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในหีนาธิมุตติสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้
บทว่า สํสนฺทนฺติ แปลว่า เป็นพวกเดียวกัน. บทว่า สเมนฺติ
ได้แก่ ย่อมสมาคมกัน คือเป็นนิรันดร. บทว่า หีนาธิมุตฺติกา แปลว่า
มีอัธยาศัยเลว. บทว่า กลฺยาณาธิมุตฺติกา แปลว่า มีอัธยาศัยดี.
จบอรรถกถาหีนาธิมุตติสูตรที่ 4

5. จังกมสูตร



ว่าด้วยการจงกรมของภิกษุหลายรูป



[365] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
กรุงราชคฤห์.
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับ
ภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระมหากัสสปก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้-
มีพระภาคเจ้า
ท่านพระอนุรุทธก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปใน
ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็จงกรมอยู่ด้วย
กันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระอุบาลีก็
จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลาบรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
แม้พระเทวทัตก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[366] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับ
ภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก พวก
เธอเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก พวกเธอเห็นมหากัสสปกำลัง
จงกรมอยู่ด้วยกัน กับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท พวกเธอเห็นอนุรุทธกำลัง
จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ พวกเธอเห็นปุณณ-
มันตานีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก พวกเธอเห็นอุบาลีกำลัง
จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย พวกเธอเห็นอานนท์
กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต พวกเธอเห็นเทวทัตกำลัง
จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก.
[367] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีต
กาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว
คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ไค้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วกับ
สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว
ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอนาคตกาล สัตว์
ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มี
อัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี
อัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
กัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อม
คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.
จบจังกมสูตรที่ 5

อรรถกถาจังกมสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปสฺสถ โน แปลว่า ท่านเห็นหรือไม่. บทว่า สพฺเพ
โข เอเต
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระสารีบุตรเถระ
ไว้ในเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุผู้มีปัญญาว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปัญญามาก คือพระสารีบุตร เป็นยอด. พวก
ภิกษุผู้มีปัญญามาก ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถาม
ปัญหาอันลึกซึ้ง ที่กำจัดไตรลักษณะได้แล้ว ในลำดับขันธ์ ธาตุ อายตนะ
สติปัฏฐาน และโพธิปักขิยธรรม ด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น
ย่อมตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้วแก่พวกภิกษุเหล่านั้น เหมือน
แผ่ซึ่งแผ่นดิน เหมือนยกทรายจากเชิงภูเขาสิเนรุ เหมือนทำลายภูเขา
จักรวาล เหมือนยกภูเขาสิเนรุขึ้น เหมือนขยายอากาศให้กว้างขวาง เเละ
เหมือนให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู มหปญฺญา"
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระมหาโมคคัลลานะไว้ในเอตทัคคะ
ในบรรดาภิกษุผู้มีฤทธิ์ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา
ผู้มีฤทธิ์ คือโมคคัลลานะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้มีฤทธิ์ ย่อมห้อมล้อม
พระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งบริกรรม อานิสงส์ อธิษฐาน
การกระทำต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ตอบปัญหาที่เขา
ถามแล้วและถามแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วแล. เพราะ