เมนู

ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
จบพาหิรธาตุสูตรที่ 6

อรรถกถาพาหิรธาตุสูตรที่ 6



สวนในสูตรที่ 6 ธาตุ 5 เป็นกามาวจร ธรรมธาตุเป็นไปใน
ภิมิ 4.
จบอรรถกถาพาหิรธาตุสูตรที่ 6

7. สัญญาสูตร



ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา



[344] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง
แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่ง
ฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะ
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ
ฯ ล ฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
[345 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
เป็นไฉน รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยรูปสัญญา รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูป
ปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปปริฬาหะ ฯ ล ฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม-
ฉันทะ ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความ
ต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนา
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะอย่างนี้แล.
จบสัญญาสูตรที่ 7

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 7



พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปธาตุ ความว่า รูปารมณ์ มีการโพกผ้าสาฎกเป็นต้น
ของตนหรือของผู้อื่น ดำรงอยู่ในคลองจักษุ. บทว่า รูปสญฺญา ได้แก่