เมนู

อบาย และในที่ใดที่หนึ่ง ตั้งต้นแต่ปฏิสนธิที่ 8 ไป. ทุกข์ทั้งหมดนั้น
พึงทราบว่า ปริกขีณทุกข์-ทุกข์ที่สิ้นไป. บทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ แปลว่า
7 ครั้ง. อธิบายว่า ในอัตภาพทั้ง 7. ด้วยบทว่า ปรมตา ท่านแสดงว่า
นี้เป็นประมาณยิ่งของทุกข์นั้น. บทว่า มหตฺถิโย ได้แก่ให้สำเร็จประ-
โยชน์ใหญ่.
จบอรรถกถานขสิขาสูตรที่ 1

2. โปกขรณีสูตร



ว่าด้วยเปรียบทุกข์ที่เหลือเหมือนน้ำที่วิดด้วยปลายหญ้าคา



[313] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สระโบกขรณียาว 50 โยชน์ กว้าง 50 โยชน์ ลึก 50 โยชน์ มีน้ำเต็ม
เสมอขอบ กาดื่มกินได้ บุรุษพึงวิดน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้นด้วยปลาย
หญ้าคา เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วย
ปลายหญ้าคาก็ดี น้ำในสระโบกขรณีก็ดี ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แหละมากกว่า
น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคามีประมาณน้อย น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วย
ปลายหญ้าคาเมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในสระโบกขรณี ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ 100
เสี้ยวที่ 1,000 เสี้ยวที่ 100,000 แม้ฉันใด.
[314] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่
หมดไป สิ้นไปนี้แหละ ของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วย