เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว กราบทูลถ้อยคำ
ที่สนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ว่าด้วยธรรมฐิติญาณ



พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณ
ในพระนิพพานเกิดภายหลัง.
พระสุสิมะกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อ
ความแห่งคำที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
จงตรัสแก่ข้าพระองค์ เท่าที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่ง
พระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.
[291] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม โดย
แท้จริงแล้วธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง สุสิมะ
เธอจะเข้าใจความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา.
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.
พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น
เป็นตัวตนของเรา.
ส. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.
พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา.
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.
พ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา.

สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.
พ. วิญญาณเบื้องหรือไม่เที่ยง.
สุ. ไม่เที่ยง พระเข้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ส. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา.
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.
[292] พ. ดูก่อนสุสิมะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี
ละเอียดก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั่นอันเธอพึงเห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี
อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี
อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบัน
ก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี
อยู่ในที่ไกลก็ดี ในใกล้ก็ดี สังขารทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่
ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
[293] พ. ดูก่อนสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร
ทั้งหลาย แม้ในวิญ ญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี.
[294] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงมีชราและมรณะหรือ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพหรือ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
หรือ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. . . . เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. . . เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัยจึงมีเวทนา. . . เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. . . เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตน. . . เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี
นามรูป. . . เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . สุสิมะ เธอเห็นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารหรือ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[295] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ จึงดับหรือ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ...เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
จึงดับ. . . เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ... เพราะผัสสะดับ เวทนา
จึงดับ... เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ
สฬายตนะจึงดับ... เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ... เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ. . . เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[296] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมบรรลุ
อิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้
ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำ
ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก
ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ.
ส. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[297] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้
ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้
ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์บ้างหรือหนอ.
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[298] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมกำหนด
รู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ
ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ.
ส. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[299] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือชาติหนึ่งบ้าง ฯ ล ฯ ย่อมระลึกถึงชาติ
ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
บ้างหรือหนอ.

สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[300] พ. ดูก่อนสุสมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมเห็น
หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม บ้างหรือหนอ.
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[301] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมถูกต้อง
อรูปวิโมกข์อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลาย ด้วยกายบ้างหรือหนอ.
สุ. มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[302] พ. ดูก่อนสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรม
เหล่านี้มีอยู่ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่.
ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้-
มีพระภาคเจ้า
ด้วยเศียรเกล้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ตกถึงข้าพระองค์ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่
ไม่ฉลาด ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสดีแล้ว
อย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับโทษไว้โดยความเป็นโทษ เพื่อความ
สำรวมต่อไปของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า.
[303] พ. เอาเถิดสุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง
เท่าที่ไม่ฉลาด เธอบวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้
เปรียบเหมือนเจ้าหน้าที่จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงตัวแก่พระราชา แล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ โจรคนนี้ ประพฤติผิดแด่พระองค์
ขอพระองค์จงทรงลงอาชญาตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์แก่โจรคนนี้

เถิด พระราชาพึงรับสั่งให้ลงโทษโจรนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไป
มัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้ด้วยเชือกที่เหนียว แล้วเอามีดโกนหัวเสีย พาเที่ยว
ตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็ก ๆ ให้ออกทาง
ประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง ราชบุรุษ
มัดโจรนั้นไพล่หลังอย่างมั่นคง ด้วยเชือกที่เหนียวแล้วเอามีดโกนโกนหัว
พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็ก ๆ พา
ออกทางประตูด้านทักษิณพึงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง สุสิมะ
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเห็นไฉน บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมี
กรรมนั้นเป็นเหตุหรือหนอ.
สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[304] พ. ดูก่อนสุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัส
อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ แต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่
ตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้ นี้ยังมีผลรุนแรงและเผ็ดร้อนกว่านั้น และยัง
เป็นไปเพื่อวินิบาต แต่เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืน
ตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว
ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของ
พระอริยะ.
จบสุสิมสูตรที่ 10
จบมหาวรรคที่ 7

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. อัสสุตวาตาสูตรที่ 1 2. อัสสุตวตาสูตรที่ 2
3. ปุตตมังสสูตร 4. อัตถิราคสูตร
5. นครสูตร 6. สัมมสสูตร
7. นฬกลาปิยสูตร 8. โกสัมพีสูตร
9. อุปยสูตร 10. สุสิมสูตร

อรรถกถาสุสิมสูตรที่ 10



ในสุสิมสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ครุกโต ความว่า เป็นอันเทวดาและมนุษย์กระทำให้หนัก
ด้วยจิต เหมือนฉัตรหิน. บทว่า มานิโต ได้แก่ อันเขาประพฤติรักใคร่
ด้วยใจ. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ อันเขาบูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัย 4.
บทว่า อปิจิโต ได้แก่ อันเขายำเกรงด้วยการประพฤติอ่อนน้อม. จริงอยู่
มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระศาสดาแล้ว ย่อมลงจากคอช้างเป็นต้น ถวายทาง
ลดผ้าจากจะงอยบ่า ลุกจากอาสนะถวายบังคม ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นผู้
อันมนุษย์เหล่านั้นยำเกรงแล้ว. บทว่า สุสิโม ได้แก่ บัณฑิตปริพาชก
ผู้ฉลาดในเวทางค์ ผู้มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า เอหิ ตฺวํ ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้
ว่า พระสมณโคดมอาศัยชาติและโคตรเป็นต้น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ
ก็หาไม่ ที่แท้ทรงเป็นยอดกวี ผูกคัมภีร์คำร้อยกรองประทานแก่พระสาวก
เพราะทรงเป็นยอดกวี พระสาวกเหล่านั้น เรียนคัมภีร์นั้นหน่อยหนึ่งแล้ว
กล่าวลำเป็นต้นว่า อุปนิสินนกกถาบ้าง อนุโมทนาบ้าง สรภัญญะบ้าง