เมนู

พระอนาคามีเหมือนบุรุษที่ถูกความร้อนแผดเผา อรหัตมรรคเหมือนกระ-
บอกน้ำ พระอนาคามีย่อมรู้ว่า ถัดขึ้นไปย่อมมีการบรรลุอรหัตผล ด้วย
ปัจจเวกขณญาณ เหมือนบุรุษที่ถูกความร้อนแผดเผา เห็นน้ำในบ่อ.
อนึ่ง พระอนาคามีย่อมไม่ได้ที่จะทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ นั่งเข้า
ผลสมาบัติ ที่สัมปยุตด้วยพระอรหัต เพราะไม่มีอรหัตมรรค เหมือน
บุรุษนั้นไม่สามารถจะใช้กายนำน้ำออกมารดตัว เพราะไม่มีกระบอกน้ำ
ฉะนั้น.
จบอรรถกถาโกสัมพีสูตรที่ 8

9. อุปยสูตร



ว่าด้วยสังขารเกิดเพราะมีอวิชชา



[276] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
[277] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย...
แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาสมุทรน้ำขึ้น ย่อมทำให้แม่น้ำ
ใหญ่น้ำขึ้น เมื่อแม่น้ำใหญ่น้ำขึ้น ย่อมทำให้แม่น้ำน้อยน้ำขึ้น เมื่อแม่น้ำ
น้อยน้ำขึ้น ย่อมทำให้บึงใหญ่น้ำขึ้น เมื่อบึงใหญ่น้ำขึ้น ย่อมทำให้บึงน้อย
น้ำขึ้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออวิชชาเกิด ย่อมทำให้สังขารเกิด
เมื่อสังขารเกิด ย่อมทำให้วิญญาณเกิด เมื่อวิญญาณเกิด ย่อมทำให้นาม-
รูปเกิด เมื่อนามรูปเกิด ย่อมทำให้สฬายตนะเกิด เมื่อสฬายตนะเกิด

ย่อมทำให้ผัสสะเกิด เมื่อผัสสะเกิด ย่อมทำให้เวทนาเกิด เมื่อเวทนาเกิด
ย่อมทำให้ตัณหาเกิด เมื่อตัณหาเกิด ย่อมทำให้อุปาทานเกิด เมื่อ
อุปาทานเกิด ย่อมทำให้ภพเกิด เมื่อภพเกิด ย่อมทำให้ชาติเกิด เมื่อ
ชาติเกิด ย่อมทำให้ชราและมรณะเกิด ฉันนั้นเหมือนกัน.
[278] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาสมุทรน้ำลง ย่อมทำให้
แม่น้ำใหญ่ลดลง เมื่อแม่น้ำใหญ่ลดลง ย่อมทำให้แม่น้ำน้อยลดลง เมื่อ
แม่น้ำน้อยลดลง ย่อมทำให้บึงใหญ่ลดลง เมื่อบึงใหญ่ลดลง ย่อมทำให้
บึงน้อยลดลง ฉันใด เมื่ออวิชชาไม่เกิด ย่อมทำให้สังขารไม่เกิด เมื่อ
สังขารไม่เกิด ย่อมทำให้วิญญาณไม่เกิด เมื่อวิญญาณไม่เกิด ย่อมทำให้
นามรูปไม่เกิด เมื่อนามรูปไม่เกิด ย่อมทำให้สาฬายตนะไม่เกิด เมื่อ
สฬายตนะไม่เกิด ย่อมทำให้ผัสสะไม่เกิด เมื่อผัสสะไม่เกิด ย่อมทำให้
เวทนาไม่เกิด เมื่อเวทนาไม่เกิด ย่อมทำให้ตัณหาไม่เกิด เมื่อตัณหาไม่
เกิด ย่อมทำให้อุปาทานไม่เกิด เมื่ออุปาทานไม่เกิด ย่อมทำให้ภพไม่เกิด
เมื่อภพไม่เกิด ย่อมทำให้ชาติไม่เกิด เมื่อชาติไม่เกิด ย่อมทำให้ชราและ
มรณะไม่เกิด ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบอุปสูตรที่ 9

อรรถกถาอุปยสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปยนฺโต ความว่า ไหลลนไปเวลาน้ำขึ้น. บทว่า
มหานทิโย ได้แก่แม่น้ำใหญ่ มีแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น. บทว่า
อุปยาเปติ ความว่า ให้ล้นไป อธิบายว่า ให้เพิ่ม คือให้เต็ม. บทว่า อวิชฺชา