เมนู

ในปวารณสูตรท่านกล่าวว่า อนุปฺปนฺนมคฺโค ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไป
ในสูตรนี้ท่านกล่าวว่า ปุราณมคฺโค ด้วยอรรถว่าไม่ใช้สอย. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ได้แก่คำสอนทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา 3. บทว่า อิทฺธํ
ได้แก่เจริญ คือภิกษาหาง่าย ด้วยความยินดีในฌาน. บทว่า ผีตํ
ได้แก่แพร่หลายด้วยเหตุคืออภิญญา. บทว่า วิตฺถาริกํ ได้แก่กว้างขวาง.
บทว่า พหุชญฺญํ ได้แก่ชนส่วนมากรู้แจ้ง. บทว่า ยาวเทวมนุสฺเสหิ
สุปกาสิตํ
ความว่า พระตถาคตทรงประกาศดีแล้ว คือทรงแสดงดีแล้ว
ในระหว่างนี้ ตลอดถึงพวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายที่มีกำหนดในหมื่น
จักรวาลแล.
จบอรรถกถานครสูตรที่ 5

6. สัมมสสูตร



ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน



[254] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัมมาสทัมมนิคม
ของชาวกุรุ ณ กุรุชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้
มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่อพิจารณา
ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในบ้างหรือไม่ เมื่อพระองค์ตรัสถามอย่างนี้แล้ว
มีภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลเนื้อความนี้ขึ้นแด่พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในพระเจ้าข้า
พระองค์จึงตรัสถามว่า เธอเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายใน