เมนู

นั่นเอง แต่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ เปรียบเหมือนมนสิการ. ความสงบแห่ง
วัฏฏะของพระขีณาสพ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุเพราะ
ความแตกแห่งขันธ์ที่มีใจครอง พึงทราบเหมือนการโปรยเขม่าในลมแรง
และลอยไปในแม่น้ำ.
จบอรรถกถาทหารุกขสูตรที่ 5

6. ทุติยมหารุกขสูตร



ว่าด้วยต้นไม้มีอาหารกับภิกษุมีความพอใจในธรรม



[210] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ไม้ใหญ่มี
รากหยั่งลงและแผ่ไปข้าง ๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน
เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็น
อยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ
ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[211] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้น
บุรุษเอาจอบแต่ภาชนะ. มาตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้น
ขุดลงไปแล้วคุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น ฯ ล ฯ หรือลอยใน
แม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้น
แล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนื่อง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
จบทุติยมหารุกขสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยมหารุกขสูตรที่ 6



ในทุติยมหารุกขสูตรที่ 6 พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเทียบก่อน
แล้วตรัสเนื้อความในภายหลัง ความต่างกันมีเพียงเท่านี้.
จบอรรถกถาทุติยมหารุกขสูตรที่ 6

7. ตรุณรุกขสูตร



ว่าด้วยต้นไม้อ่อนกับภิกษุมีความพอใจในธรรม



[212] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหา
ย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[213] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่ บุรุษพึง
พรวนดินใส่ปุ๋ย รดน้ำเสมอ ๆ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ แม้ฉันใด