เมนู

ทุกขวรรคที่ 6



1. ปริวีมังสนสูตร



ว่าด้วยการพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ



[188] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณา พึง
พิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ภิกษุเหล่านั้น
ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
เป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
เป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่ง
ภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว จักทรงจำไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[189] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือชราและมรณะมี
ประการต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร

เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด อะไรเป็นแดนเกิดหนอแล เมื่ออะไรมี
ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณา
อยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่าง ๆ มากมาย
เกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้แลมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็น
กำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี
ชราและมรณะจึงไม่มีภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์
เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและมรณะ
ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และ
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดย
ประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชราและมรณะ.
[190] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็
ชาตินี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้น
พิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพ
เป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึง
ไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อม
รู้ประจักษ์ความดับแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึง
ความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรม
อันสมควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชาติ.
[191] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า

ก็ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ตัณหานี้มี
อะไรเป็นเหตุ ฯล ฯ ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็น
เหตุ ฯลฯ ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมีสังขารจึงมีเมื่ออะไรไม่มี
สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา ย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็น
เหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่อ
อวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์
สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่ง
สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และ
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควรภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับ
แห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญ
ปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณ
ก็เข้าถึงบาป ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา.
[192] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรม
เป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมี
วิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่
ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อม
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า

สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลิน
แล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึด
ถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวย
สุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้า
เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่
ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนา
ที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า
เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลือ
อยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย.
[193] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตา
เผาหม้อวางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อ
ยังเหลืออยู่ที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวย
เวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อ
เสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุ
จักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่ง
กายฉันนั้นเหมือนกัน.
[194] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน ภิกษุผู้ขีณาสพพึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง ทำกรรมเป็นบาปบ้าง ทำ
กรรมเป็นอเนญชาบ้างหรือหนอ.

ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
สังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวงเพราะวิญญาณ
ดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
นามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
สฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
ผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
เวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ
ชาติพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ
ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ.
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[195] ดีละ ๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อ
นั้นไว้อย่างนั้นเถิด พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมด
ความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์.
จบปริวีมังสนสูตรที่ 1

ทุกขวรรคที่ 6



อรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในปริวีมังสนสูตรที่ 1 แห่งทุกขวรรคต่อไป.
บทว่า ปริวีมํสมาโน แปลว่า เมื่อพิจารณา. บทว่า ชรามรณํ ชราและ
มรณะ ความว่า หากถามว่า "เพราะเหตุไร ชราและมรณะข้อเดียวเท่านั้น
จึงมีประการต่าง ๆ หลายอย่าง. ตอบว่า "เพราะเมื่อจักชรามรณะนั้น
ได้แล้ว ก็จะเป็นอันจับทุกข์ทั้งปวงได้" เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษถูกกับที่
ผมจุก บุรุษนั้นย่อมชื่อว่าถูกจับโดยแท้ ฉันใด เมื่อจับชราและ
มรณะได้แล้ว ธรรมที่เหลือย่อมชื่อว่าเป็นอันจับได้โดยแท้ ฉันนั้น.
เมื่อจักชราและมรณะได้แล้วเช่นนี้ ทุกข์ทั้งปวงย่อมชื่อว่าเป็นอันจับ