เมนู

3. ทุกขนิโรธสูตร



ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์



[161] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับ
แห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.
[162] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุ-
วิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง . . . เพราะอาศัยจมูก
และกลิ่น . . . เพราะอาศัยลิ้นและรส . . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์.
[163] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะ
อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึง
ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ

ดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง . . . เพราะอาศัยจมูกและ
กลิ่น. . . เพราะอาศัยลิ้นและรส . . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ. . .
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพื่อชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์.
จบทุกขนิโรธสูตรที่ 3

อรรถกถาทุกขนิโรธสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ 3 ต่อไป.
บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่วัฏทุกข์ ทุกข์คือความเวียนว่ายตายเกิด. เหตุ
เกิดในบทว่า สมุทยํ มี 2 อย่างคือ เหตุเกิดที่เป็นชั่วขณะ 1 เหตุ
เกิดคือปัจจัย 1. ภิกษุแม้เห็นเหตุเกิดคือปัจจัย ก็ชื่อว่าเห็นเหตุเกิดที่เป็น
ไปชั่วขณะ ถึงเห็นเหตุเกิดที่เป็นไปชั่วขณะ ก็ชื่อว่าเห็นเกิดคือปัจจัย.
ความดับในบทว่า อฏฺฐงฺคโม มี 2 อย่างคือ ความดับสนิท 1 ความดับ
คือการแตกสลาย 1. ภิกษุแม้เห็นความดับสนิท ก็ชื่อว่าเห็นความดับคือการ
แตกสลาย ถึงเห็นความดับคือการแตกสลาย ก็ชื่อว่าเห็นความดับสนิท.