เมนู

ทิฏฐิในจิต 8 ดวง ทรงกล่าวว่า "ไม่ดำริ" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ห้ามจิตที่มาในพระสูตร แล้วทรงถือเอาอุปนิสัยโดยที่สุดที่ยังละไม่ได้ ใน
กุศลจิต อกุศลจิต วิปากจิต กิริยาจิต ที่เป็นไปในภูมิ 3 และรูป
ด้วยคำว่า "ย่อมครุ่นคิด." นัยที่ 4 เช่นกับนัยก่อนแล.
บทว่า ตทปฺปติฏฺฐิเต แปลว่า เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมนแล้ว.
บทว่า "อวิรุฬฺเห ไม่เจริญขึ้นแล้ว" ได้แก่ เมื่อเกิดมูลแห่งการไม่
บังเกิด เพราะสามารถให้กรรมทรุดโทรมแล้วชักปฏิสนธิมา. ถามว่า
ก็ในวาระที่ 3 นี้ท่านกล่าวถึงอะไร. แก้ว่า กล่าวถึงกิจของอรหัตมรรค.
จะกล่าวว่า การกระทำกิจของพระขีณาสพบ้าง นวโลกุตรธรรมบ้าง
ก็ควร. แต่ในวาระนี้ มีอธิบายว่า ระหว่างวิญญาณกับภพใหม่ในอนาคต
เป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหาเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่าง
ภพกับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง.
จบอรรถกถาปฐมเจตนาสูตรที่ 1

9. ทุติยเจตนาสูตร



ว่าด้วยความเกิดดับแห่งกองทุกข์



[147] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณ-
ปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญ

ขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
โทนนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณ-
ปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญ
ขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข -
โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประ-
การอย่างนี้.
[148] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และ
ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง
วิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อ
วิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึง
ไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
จบทุติยเจตนาสูตรที่ 9

อรรถกถาทุติยเจตนาสูตรที่ 9



ในทุติยเจตนาสูตรที่ 9 มีอธิบายว่า ระหว่างวิญญาณกับนามรูป
เป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหาเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างภพ
กับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาทุติยเจตนาสูตรที่ 9

10. ตติยเจตนาสูตร



ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์



[149] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึง
สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมี
อารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว
เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติ
ในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ