เมนู

ให้เหมือนที่ที่ถอนตาลขึ้นทั้งรากตั้งไว้. ข้อว่า อนภาวํ คตานิ แปลว่า
ถึงความไม่มีในภายหลัง.
จบอรรถกถาปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ 5

6. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร



ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร



[137] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[138] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน
และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และ
ชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองงของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ ล ฯ
ชาติเป็นไฉน. . .ภพเป็นไฉน. . .อุปาทานเป็นไฉน. . .ตัณหาเป็น
ไฉน. . . เวทนาเป็นไฉน. . . ผัสสะเป็นไฉน. . . สฬายตนะเป็นไฉน. . .
นามรูปเป็นไฉน. . . วิญญาณเป็นไฉน.

[139] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน
และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขาร
นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกัน
แต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่าง
หนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองงนั้น ดังนี้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ
[140] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็น
ข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะ
เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น
ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
เหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้
เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.
[141] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็น
ข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็น
ของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อัน
นั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาล
ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชา
ดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯลฯ

ภพเป็นไฉน. . . อุปาทานเป็นไฉน. . . ตัณหาเป็นไฉน. . . เวทนา
เป็นไฉน. . .ผัสสะเป็นไฉน. . .สฬายตนะเป็นไฉน. . .นามรูปเป็นไฉน. . .
วิญญาณเป็นไฉน. . .
[142] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็น
ข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็น
ของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็
อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดัง
ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ
อวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.
จบทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยอวิชชาเป็นปัจจยสูตรที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ 6 ต่อไป.
ข้อว่า "อิติ วา ภิกฺขเว โย วเทยฺย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้" อธิบายว่า ในบริษัทนั้น ผู้ถือทิฏฐิใคร่ที่จะถามปัญหามีอยู่. แต่ผู้
นั้นพระธาตุแห่งผู้ไม่กล้าหาญจึงไม่อาจจะลุกขึ้นถามพระทศพล. เพราะฉะนั้น
พระศาสดาจึงตรัสถามเสียเองตามความประสงค์ของเขา เมื่อจะทรงแก้ จึง
ตรัสอย่างนี้.

จบอรรถกถาทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ 6