เมนู

ภิกฺขู ความว่า ภิกษุจำนวน 500 รูปเหล่านั้นมีจิตยินดี เป็นพระ
ขีณาสพแล้ว. บทว่า ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุํ ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น)
พากันชื่นชมพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังเสียง
พรหมไพเราะดุจเสียงนกการเวก ระรื่นโสตเสมือนกับอมฤดาภิเษกโสรจสรง
หทัยบัณฑิตชน อธิบายว่า อนุโมทนา รับพร้อมกันแล้ว. เพราะเหตุนั้น
พระโบราณาจารย์ จึงกล่าวว่า
สุภาสิตํ สุลปิตํ เอตํ สาธุติ ตาทิโน
อนุโมทมานา สิรสา สมฺปฏิจฺฉึสุ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลายอนุโมทนาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้คงที่ว่า พระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาษิตแล้ว
ตรัสไว้แล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ดังนี้ รับพร้อม
กันแล้วด้วยเศียรเกล้า.

จบอรรถกถาปฏิจจสมุปบาทสูตรที่ 1

2. วิภังคสูตร



ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท



[4] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่
พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราตถาคต
จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[5] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โลกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[6] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่
ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง
อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกกว่าชรา. ก็มรณะเป็นไฉน. การเคลื่อนที่ การย้ายที่ ความทำลาย
ความอันตรธาน ความม้วยมรณ์ การถึงแก่กรรม ความแตกแห่งขันธ์
ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่ามรณะ. ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้
เรียกว่า ชราและมรณะ.
[7] ก็ชาติเป็นไฉน. ความเกิด ความก่อเกิด ความหยั่งลง1
ความบังเกิด2 ความเกิดจำเพาะ3 ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
ครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่าชาติ.

1. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ 2. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ 3. คือเป็นอุปปาติก-
ปฏิสนธิ.

[8] ก็ภพเป็นไฉน. ภพ 3 เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ.
[9] ก็อุปาทานเป็นไฉน. อุปาทาน 4 เหล่านี้คือ กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทาน.
[10] ก็ตัณหาเป็นไฉน. ตัณหา 6 หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา
สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้
เรียกว่าตัณหา.
[11] ก็เวทนาเป็นไฉน. เวทนา 6 หมวดเหล่านี้คือ จักขุ-
สัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา-
สัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนา.
[12] ก็ผัสสะเป็นไฉน. ผัสสะ 6 หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า
ผัสสะ.
[13] ก็สฬายตนะเป็นไฉน. อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ.
[14] ก็นามรูปเป็นไฉน. เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ
มนสิการ นี้เรียกว่านาม, มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4
นี้เรียกว่ารูป, นามและรูปดังพรรณนาฉะนี้ เรียกว่านามรูป.
[15] ก็วิญญาณเป็นไฉน. วิญญาณ 6 หมวดเหล่านี้คือ จักขุ-
วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณ.

[16] ก็สังขารเป็นไฉน. สังขาร 3 เหล่านี้คือ กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร.
[17] ก็อวิชชาเป็นไฉน. ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุ
เกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
ความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็น
ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .ดังพรรณนา
มาฉะนี้. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[18] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบวิภังคสูตรที่ 2

อรรถกถาวิภังคสูตรที่ 2



แม้ในวิภังคสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พึงทราบเหตุตั้งพระสูตรตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่ความแปลก
กันมีดังนี้
พระสูตรแรกพระองค์ทรงแสดงไว้โดยย่อ โดยอคฆติตัญญูบุคคล
พระสูตรนี้ ทรงแสดงไว้โดยพิสดาร โดยวิปจิตัญญูบุคคล. ก็แลในพระ
สูตรนี้ พึงกล่าวอุปมาด้วยบุรุษนำเถาวัลย์ไป 4 อุปมา. อุปมานั้นท่าน
กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล. เปรียบเหมือนบุรุษผู้นำเถาวัลย์
ไป พบยอดเถาวัลย์แล้วก็ค้นหาราก ตามแนวยอดเถาวัลย์นั้น พบราก
(เถาวัลย์) แล้ว ก็ตัดที่รากเถาวัลย์ ถือเอาไปใช้ในการงานได้ฉันใด