เมนู

พระเสขบุคคล จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยปริยายนี้แล.
คำว่า "นิพฺพิทา" เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นการกล่าวบอกเหตุทุก
อย่าง. บทว่า "อนุปาทา เพราะความไม่ยึดมั่น" ได้แก่พ้นจากอุปาทาน
คือความยึดมั่น 4 ประการ ไม่ถือเอาธรรมไร ๆ. ด้วยคำว่า "สาธุ สาธุ
ดีละ ๆ." นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการพยากรณ์ปัญหาของพระสารีบุตร
เถระให้รื่นเริง เมื่อจะทรงพยากรณ์เช่นนั้นแหละด้วยพระองค์เอง จึงตรัส
ซ้ำว่า "นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว" ดังนี้เป็นต้น.
จบอรรถกถาภูตมิทสูตรที่ 1

2. กฬารขัตติยสูตร



ว่าด้วยโมลิยัคคุนภิกษุลาสิกขา



[104] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล กฬารขัตติยภิกษุ
เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่ง
เรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
โมลิยผัคคุนภิกษุ
ได้ลาสิกขา เวียนมาทางฝ่ายต่ำเสียแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโมลิยผัคคุนะนั้นคงไม่ได้ความ
พอใจในพระธรรมวินัยนี้เป็นแน่.
ก. ถ้าเช่นนั้น ท่านพระสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรม
วินัยนี้กระมัง.
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมไม่มีความสงสัยเลย.

ก. ท่านผู้มีอายุ ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่สงสัยเลย.
[105] ลำดับนั้น กฬารขัตติยภิกษุลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรอวดอ้างพระอรหัต-
ผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่มี.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า มานี่แน่ะภิกษุ
เธอจงไปเรียกสารีบุตรมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งเรียกหาท่าน.
ภิกษุนั้นรับพระพุทธพจน์แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่
แล้วเรียนต่อท่านว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกหา
ท่าน.
ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
[106] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เขา
ว่าเธออวดอ้างอรหัตว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่มี ดังนี้
จริงหรือ.
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์หาได้
กล่าวเนื้อความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่.
พ. ดูก่อนสารีบุตร กุลบุตรย่อมอวดอ้างอรหัตผลโดยปริยาย
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลทั้งหลายก็ต้องเห็นอรหัตผลที่

อวดอ้างไปแล้ว โดยความเป็นอันอวดอ้าง.
ส. พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือ
ว่า ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่.
ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ท่านรู้
เห็นอย่างไร จึงอวดอ้างอรหัตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่มี เพราะรู้ได้ว่า
เมื่อปัจจัยแห่งชาติสิ้นแล้ว เพราะปัจจัยอันเป็นต้นเหตุสิ้นไป ชาติจึงสิ้นไป
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้.
[107] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร
ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด
มีภพเป็นแดนเกิด.
[108] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร
ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นสมุทัย มีอุปาทาน
เป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด.
[109] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร
ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหา
เป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด.
[110] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร
ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนา
เป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
[111] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็
เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะ
เป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด.
[112] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร
ท่านรู้เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ว่า เวทนา 3 เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกข-
เวทนา อทุกขมสุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ.
[113] ถูกละ ๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดย
ย่อ ก็ได้ใจความดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น
ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ ท่านสารีบุตร เพราะความหลุด
พ้นเช่นไร ท่านจึงอวกอ้างอรหัตว่า ท่านรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด
ข้าพเจ้าก็เป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน เพราะ
อุปาทานทั้งปวงสิ้นไป ทั้งข้าพเจ้าก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้
[114] ถูกละ ๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดย
ย่อ ก็ได้ใจความดังนี้ว่า อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้า
ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ในอาสวะเหล่านั้นว่า อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้า
ละได้แล้วหรือยัง.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตตรัสดังนี้แล้ เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร.
[115] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้วไม่นานนัก ท่าน

พระสารีบุตรจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกะผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน
ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา
ปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง
ตรัสถามความข้อนั้นกะผมตลอดทั้งวันด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ แม้
ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความ
ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูล
ตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอดทั้งคืน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วย
บทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความ
ข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด
ทั้งคืนทั้งวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผม
ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบ
ความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอดสองคืนสองวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้น
กะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน แม้ผมก็พึง
ทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความ
ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน แม้ผมก็พึง
ทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อ

นั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน แม้ผมก็พึง
ทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความ
ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน แม้ผมก็
พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม
ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน.
[116] ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วนั่ง ฯ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกะผม ซึ่ง
ผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
จะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมตลอดทั้งวันด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
จะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้ง
คืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบท
อื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง

ตรัสถามข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัส
ถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน
แม้ผมก็พึงทูลความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัส
ถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง
ตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม
ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน แม้
ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ คลอดห้าคืนห้าวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม
ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน แม้
ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม
ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน
แม้ผมก็พึงทลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน.
[ 117] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เพราะธรรม-
ธาตุอันสารีบุตรแทงตลอดดีแล้ว แม้หากว่าจะพึงถามความข้อนั้นกะ

สารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบ
ความข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน หากเรา
จะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด
ทั้งคืน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบท
อื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากเราจะถามความข้อนั้น
กะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน สารีบุตร
ก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสอง
คืนสองวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เรา
ได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากเราจะถาม
ความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน
สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอดสี่คืนสี่วัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้
ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน หากเราจะถามความ
ข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน
สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอดหกคืนหกวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่
เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน.

จบกฬารขัตติยสูตรที่ 2

อรรถกถาหฬารขัตติยสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในกฬารขัตติยสูตรที่ 2 ต่อไป. คำว่า กฬาร-
ขตฺติโย
เป็นชื่อของพระเถระ. ก็ฟันของพระเถระนั้นดำแดง ตั้งอยู่
(ขึ้น) ไม่เสมอกัน ฉะนั้น จึงเรียกว่า "กฬาร." คำว่า "หีนายาวตฺโต
เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว" คือเวียนมาเพื่อประโยชน์แก่ความเป็น
คฤหัสถ์อันต่ำ. คำว่า "อสฺสาสมลตฺถ ไม่ได้ความพอใจ" ได้แก่
พระโมลิยผัคคุนะ คงไม่ได้ความพอใจ คือที่อาศัย ที่พึ่ง เป็นแน่.
พระสารีบุตรเถระแสดงว่า "ไม่ได้มรรค 3 และผล 3 แน่นอน."
คำอธิบายของพระเถระมีดังนี้ว่า " ก็ถ้าพระโมลิยผัคคุนะพึงได้มรรคและ
ผลเหล่านั้น เธอไม่พึงลาสิกขา เวียนมาทางฝ่ายต่ำ." บทว่า " น ขฺวาหํ
อาวุโส
ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลย" ความว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ข้าพเจ้าแล มีความพอใจ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่สงสัย" เพราะว่า
สาวกบารมีญาณของพระสารีบุตรเถระ เป็นที่พึ่ง (ของตน) ได้ ฉะนั้น
ท่านจึงไม่สงสัย. ด้วยคำว่า "อายตึ ปนาวุโส ท่านผู้มีอายุ ต่อไปเล่า"
นี้ พระกฬารขัตติยะถามถึงการบรรลุพระอรหัตของพระสารีบุตรเถระว่า
" การปฏิสนธิต่อไป ท่านเพิกขึ้นแล้วหรือ หรือไม่เพิกขึ้น" ด้วยคำว่า
"น ขฺวาหํ อาวุโส วิจิกิจฺฉามิ ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลย" นี้
พระสารีบุตรเถระแสดงความไม่สงสัยในการบรรลุพระอรหัตนั้น. บทว่า
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ"
ความว่า ได้เข้าไปเฝ้าด้วยคิดว่า " เราจักกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงเหตุดีนี้." คำว่า อญฺญา พฺยากตา แปลว่า พยากรณ์พระอรหัต