เมนู

กฬารขัตติยวรรคที่ 4



1. ภูตมิทสูตร



ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ



[98] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี . ครั้งนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า ดูก่อนสารีบุตร อชิตมาณพ
ได้กล่าวปัญหาไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว
และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากใน
ศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอ
ได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวก
นั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้
โดยพิสดารได้อย่างไร.
[99] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่สอง
ฯ ล ฯ แม้ในครั้งที่สองท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร อชิต-
มาณพ
ได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว
และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มาก
ในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว
ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสอง
พวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้
โดยพิสดารได้อย่างไร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ
สารีบุตร
ก็ยังนิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม.
[100] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอ
เห็นไหมว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเห็นด้วย
ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้น
เห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด
เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม
ความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่ง
ขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็น
จริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้น
ดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความ
กำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา พระ
พุทธเจ้าข้า บุคคลย่อมเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้.

[101] พระพุทธเจ้าข้า บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมเป็นไฉน.
บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิด
แล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลาย
ความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว
ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว. ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะ
คลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิด
เพราะอาหารนั้น ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใด
เกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้นดับไป ครั้น
เห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด
เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา
บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพ
กล่าวไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว
และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากใน
ศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอ
ได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวก
นั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความของคำที่กล่าวไว้โดยย่อนี้
โดยพิสดารอย่างนี้แล.
[102] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกละ ๆ สารีบุตร บุคคล
เห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว

ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด
เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม
ความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหาร ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่ง
ขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็น
จริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับ
แห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ
คลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา
ดูก่อนสารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล.
[103] ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็น
ไฉน. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง
ว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ
ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น
ซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า
ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น
เพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะ
ความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญา
โดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา
เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ
ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น
ซึ่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อนสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่า
ตรัสรู้ธรรมแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิต-

ปัญหา ในปรายนวรรคว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว
และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากใน
ศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอ
ได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวก
นั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดย
พิสดารได้อย่างนี้แล.
จบภูตมิทสูตรที่ 1

กฬารขัตติยวรรคที่ 4



อรรถกถาภูตมิทสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในภูตมิทสูตรที่ 1 แห่งกฬารขัตติยวรรคต่อไป.
บทว่า "อชิตปญฺเห ในอชติปัญหา" ได้แก่ในปัญหาที่อชิตมาณพทูล
ถามแล้ว. บทว่า "สงฺขาตธมฺมาเส ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว" ได้แก่ผู้มี
ธรรมอันรู้แล้ว คือมีธรรมอันตรัสรู้แล้ว มีธรรมอันชั่งแล้ว มีธรรมอัน
ไตร่ตรองเสร็จแล้ว. บทว่า "เสกฺขา เสกขบุคคล" ได้แก่พระเสขะ
ทั้ง 7. บทว่า "ปุถู จำนวนมาก" คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาชน (พระเสขะ) 7 พวกนั่นแหละ จึงตรัสว่า "ปุถู." บทว่า
"อิธ" คือในพระศาสนานี้. ในบทว่า นิปโก ปัญญา ท่านเรียกว่า
เนปักกะ ผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น ชื่อว่านิปกะ อชิตมาณพทูลวิงวอนว่า
"ก็พระองค์ผู้ฉลาด ขอได้โปรดตรัสบอก." บทว่า "อิริยํ ซึ่งความ