เมนู

สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ
มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
จะมีได้.
จบอุปวาณสูตรที่ 6

อรรถกถาอุปวาณสูตรที่ 6



อุปวาณสูตรที่ 6

มีความง่ายทั้งนั้น. แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสเฉพาะ
วัฏทุกข์อย่างเดียว.
จบอรรถกถาอุปวาณสูตรที่ 6

7. ปัจจยสูตร



ว่าด้วยเหตุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ



[88 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯ ล ฯ1 ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[89] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่
ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง
อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่าชรา. ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความ
อันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอด

1. เหมือนข้อ 4-5

ทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่ามรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้
เรียกว่าชรามรณะ. เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรา
มรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ 1 ความ
ดำริชอบ 1 วาจาชอบ 1 การงานชอบ 1 อาชีพชอบ 1 พยายาม
ชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ความตั้งใจชอบ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม
เป็นที่ดับชรามรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็น
ไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน
ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็น
ไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สังขาร 3 ประการเหล่านี้คือ กายสังขาร 1 วจีสังขาร 1
จิตตสังขาร 1 นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะ
อวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ 1
ความดำริชอบ 1 วาจาชอบ 1 การงานชอบ 1 อาชีพชอบ 1 พยายาม
ชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งใจชอบ 1 เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับ
สังขาร.
[90] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัย
อย่างนี้ รู้ทั่งถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้
รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง
เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอัน
เป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญา
เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.
จบปัจจยสูตรที่ 7

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ 7

1

พึงทราบวินิจฉัย ในปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.
เมื่อตรัสปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา
บทสุดท้าย ตรัสว่า กตมญฺจ ภิกฺขเว ชรามรณํ เป็นต้น. บทว่า เอวํ
ปจฺจยํ ปชานาติ
ความว่า อริยสาวกรู้ชัดถึงปัจจัย ด้วยอำนาจทุกขสัจ
อย่างนั้น. แม้ปัจจยสมุทัยเป็นต้น ก็พึงทราบด้วยอำนาจ สมุทยสัจ เป็นต้น
เหมือนกัน. บทว่า ทิฏฺฐสมฺปนฺโน ได้แก่สมบูรณ์ด้วยปัญญา ใน
มรรค. บทว่า ทสฺสนสมฺปนฺโน เป็นไวพจน์ของบทว่า ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน
นั้นนั่นเอง. บทว่า อิมํ สทฺธมฺมํ ได้แก่มาถึงสัทธรรมคือมรรค. บทว่า
ปสฺสติ ได้แก่เห็นสัทธรรมคือมรรคนั่นแหละ. บทว่า เสกฺเขน ญาเณน
ได้แก่ด้วยญาณในมรรค. บทว่า เสกฺขาย วิชฺชาย ได้แก่ด้วยความรู้
แจ้งในมรรค. บทว่า ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน ได้แก่เข้าถึงกระแสธรรม
กล่าวคือมรรคนั่นเอง. บทว่า อริโย ได้แก่ล่วงภูมิของปุถุชน. บทว่า
นิพฺเพธิกปญฺโญ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยปัญญาเจาะแทง. พระนิพพาน ชื่อว่า

1. พระสูตรเป็นปัจจยสูตร