เมนู

ทั้งหลาย ทุกแห่ง ด้วยบทเหล่านั้น. บทว่า เอเสวตฺโถ ความว่า นั้น
นั่นแล เป็นความแห่งปฏิจจสมุปบทาที่ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
บทว่า ตญฺเญเวตฺถ ปฏิภาตุ แปลว่า ในข้อนั้นญาณจงปรากฏในพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทำความข้อนั้นให้ลึกซึ้งและมีโอภาสลึกซึ้ง
ด้วยยปฏิจจสมุปบาทกถามีชรามรณะเป็นต้น จึงกล่าวว่า สเจ มํ ภนฺเต
เป็นต้น ถ้อยคำมีบทใดเป็นมูลเกิดขึ้น ก็ยึดถือบทนั้นแล้วแสดงวิวัฏฏะ
จึงกล่าวว่า ฉนฺนํ เตฺวว เป็นต้น. คำที่เหลือ ความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอัญญติตถิยสูตรที่ 4

5. ภูมิชสูตร



ว่าด้วยสุขและทุกข์



[79] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น
ท่านพระภูทิชะ ออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้น
แล้วได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้
กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวก
หนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง อนึ่ง มีสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำ
เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อม
บัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ

มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง 4 นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ของเราทั้งหลายตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์
อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะ
ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม
สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอัน
วิญญูชนจะติเตียนได้.
[ 80 ] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัย
อะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะ
ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ
คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้
ดูก่อนอาวุโส ในวาทะทั้ง 4 นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ฯ ล ฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า
เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อม
เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนอาวุโส ในวาทะทั้ง 4 นั้น พวก
สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง
เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ ล ฯ
พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น
เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย
เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[81] ท่านพระอานนท์ได้ยินท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัย
กับท่านพระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำสนทนาของท่านพระสารีบุตร กับท่าน
พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[82] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อานนท์ ตามที่
สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าว
ว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น
สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าว
ตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม
สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอัน
วิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง 4 นั้น แม้สุขและทุกข์
ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้น
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็น
ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่
ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนอานนท์ ใน
วาทะทั้ง 4 นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและ
ทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่
ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้
เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
[83] ดูก่อนอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน

ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ
หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความ
จงใจทางใจเป็นเหตุ ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ
บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน
เกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้
สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อม
ปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเถิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน
เป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่ง
เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อม
ปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะ
ผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนอานนท์
บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน
เกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้
สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อม
ปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์
อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรม
เหล่านี้.

[84] ดูก่อนอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วาจาซึ่ง
เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้
สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี เขต [ ความจงใจเป็นเหตุงอก
งาม ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วัตถุ
[ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น
ภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี อายตนะ. [ ความจงใจอันเป็นปัจจัย ] ซึ่งเป็น
ปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรืออธิกรณ์ ความ
จงใจอันเป็นเหตุ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึง
ไม่มี.
จบภูมิชสูตรที่ 5

อรรถกถาภูมิชสูตรที่ 5



ในภูมิชสูตรที่ 5 พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
คำว่า ภูมิชะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คำที่เหลือแม้ในสูตรนี้ ก็พึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรต้นๆ. ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะ
เหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม
เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตน
เองบ้าง บุคคลอื่นทำบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะ
บ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่น ๆ ของกรรมนั้น
จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น. บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า
เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโน-
สัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา 20